2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ รูปแบบการบรรเลงกลองยาวอีสาน คณะลูกพระคเณศสาเกตนคร 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 10 ตุลาคม 2565 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร กองบรรณาธิการวารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2565 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาพัฒนาการของวงกลองยาวอีสาน คณะลูกพระคเณศสาเกตนคร และ 2. เพื่อศึกษารูปแบบการบรรเลงวงกลองยาวอีสาน คณะลูกพระคเณศสาเกตนคร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจ แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ วงกลองยาวอีสาน คณะลูกพระคเณศสาเกตนคร และผู้ชมการบรรเลง จำนวน 15 คน ที่มาจากการเลือกแบบเจาะจง แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากเครื่องมือการวิจัยและเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์ในเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) พัฒนาการของวงกลองยาวอีสาน คณะลูกพระคเณศสาเกตนคร เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2556 ก่อตั้งโดยนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาศิลปะดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด ปัจจุบันมี นายเมธาอาชว์ บุญลาภ เป็นหัวหน้าคณะ ตั้งอยู่ที่ บ้านเลขที่ 30 หมู่ 2 บ้านดงยาง ตำบลสีแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด แบ่งออกเป็น 3 ยุค ได้แก่ ยุคแรกเริ่ม เป็นยุคที่เน้นการบรรเลงจังหวะกลองโบราณ และจังหวะกลองยาวประยุกต์ เพื่อแห่ในงานพิธีมงคลต่าง ๆ ยุคที่สอง ยุคการเปลี่ยนแปลง โดยจะเน้นความร่วมสมัยมากขึ้น โดยการประยุกต์นำเครื่องดนตรีสากลเข้ามาร่วมบรรเลง ยุคที่สาม ยุคปัจจุบัน เป็นการผสมผสานของวงกลองยาวแบบดั้งเดิม แบบประยุกต์ และแบบร่วมสมัย โดยเน้นทักษะของ ผู้บรรเลงและคุณภาพของเสียงกลองยาวมากขึ้น และ 2) รูปแบบการบรรเลงกลองยาวอีสาน คณะลูกพระคเณศสาเกตนคร แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบการบรรเลงจังหวะกลองยาวโบราณ เป็นการบรรเลงที่คงความเป็นเอกลักษณ์ ทั้งจังหวะ ทำนอง และท่วงท่าลีลาในการบรรเลง รูปแบบการแปรแถว รูปแบบการต่อตัว ยังคงอนุรักษ์แบบดั้งเดิมที่ได้รับการถ่ายทอดจากต้นแบบครูบาอาจารย์ ที่สร้างและสืบทอดต่อกันมา รูปแบบการบรรเลงจังหวะกลองยาวประยุกต์ เป็นการผสมผสานของวงกลองยาวแบบดั้งเดิม แบบประยุกต์ และแบบร่วมสมัย อีกทั้งยังเพิ่มนักร้องแนวลูกทุ่งหมอลำเข้ามาขับกล่อมผสมผสานกับการบรรเลงกลองยาว เพื่อทำให้เกิดอรรถรสและมีความน่าสนใจต่อผู้ที่มารับชมรับฟังมากขึ้น 
     คำสำคัญ รูปแบบการบรรเลง, วงกลองยาวอีสาน, คณะลูกพระคเณศสาเกตนคร 
ผู้เขียน
625220011-1 นาย ชุมพล ศรียาวงศ์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0