2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ความสนใจในการบริโภคขนมไทยจากสมุนไพรของผู้ออกกำลังกายและความคาดหวังต่อประโยชน์ด้านสุขภาพจากสมุนไพรและคุณลักษณะขนมไทย 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 13 ตุลาคม 2565 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารเภสัชกรรมไทย (Thai Journal of Pharmacy Practice ) 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  
     ISBN/ISSN 1906-5574 
     ปีที่ 15 
     ฉบับที่
     เดือน ต.ค.-ธ.ค.
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2565 
     หน้า  
     บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อระบุสัดส่วนของผู้ออกกำลังกายที่สนใจในการบริโภคขนมไทยที่มีสมุนไพรเป็นส่วนประกอบ รวบรวมประโยชน์ด้านสุขภาพที่คาดหวังจากสมุนไพร ชนิดสมุนไพรที่ต้องการให้ใส่ในขนมไทย และคุณลักษณะขนมไทยที่คาดหวัง วิธีการ: การศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์จากผู้ออกกำลังกาย 171 คน ที่เลือกโดยการสุ่มแบบบังเอิญบริเวณสวนสาธารณะ 4 แห่งรอบมหาวิทยาลัยขอนแก่น การศึกษาเก็บข้อมูลระหว่างเดือน ตุลาคม ถึง พฤศจิกายน 2564 ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง 155 คน (ร้อยละ 90.6) สนใจในการบริโภคขนมไทยที่มีสมุนไพรเป็นส่วนประกอบ ส่วนใหญ่ต้องการรับประทานเป็นของว่างช่วงบ่าย (107 คน ร้อยละ 62.6) ประโยชน์ที่คาดหวังจากสมุนไพรมากที่สุด คือ การป้องกันเกี่ยวกับภาวะอ้วนลงพุง (71 คน ร้อยละ 41.5) เช่น การควบคุมน้ำหนัก การลดระดับน้ำตาลในเลือด การลดปริมาณไขมันในเลือด รองลงมา คือ ผลต่อระบบทางเดินอาหาร (40 คน ร้อยละ 23.4) เช่น ช่วยให้ขับถ่ายสะดวก ช่วยย่อย ช่วยป้องกันท้องอืด สมุนไพรที่ต้องการมากที่สุดคือใบเตย (30 คน ร้อยละ 17.5) ตามด้วย อัญชัน (8 คน ร้อยละ 4.7) และตะไคร้ (8 คน ร้อยละ 4.7) คุณลักษณะขนมไทยที่ตัวอย่างคาดหวังสูงสุด คือ เนื้อสัมผัสที่นุ่ม (144 คน ร้อยละ 84.2) รสชาติหวานน้อย (98 คน ร้อยละ 57.3) กลิ่นใบเตย (40 คน ร้อยละ 23.4) สีที่นำมาแต่งต้องมาจากธรรมชาติ (125 คน ร้อยละ 73.1) รูปร่างขนาดเล็กพอดีคำ (70 คน ร้อยละ 40.9) สรุป: การศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงโอกาสในการพัฒนาขนมไทยให้เป็นขนมที่ส่งเสริมสุขภาพได้ โดยแนวทางการพัฒนาขนมไทย คือการเติมสมุนไพรที่มีผลในการส่งเสริมสุขภาพระบบทางเดินอาหาร ควรทดแทนน้ำตาลด้วยสารให้ความหวานที่มาจากธรรมชาติที่ไม่ให้พลังงานและไม่กระตุ้นอินซูลิน กรณีที่เป็นขนมที่มีกะทิเป็นส่วนประกอบควรทดแทนด้วยวัตถุดิบจากธรรมชาติอื่นที่มีปริมาณไขมันต่ำกว่ากะทิ  
     คำสำคัญ สมุนไพร ขนมไทย ผู้ออกกำลังกาย ความต้องการบริโภค 
ผู้เขียน
635150010-3 น.ส. ปิยมาภรณ์ อุตรนคร [ผู้เขียนหลัก]
คณะเภสัชศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0