2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ผลของความเครียดเค็ม ความเครียดแล้ง และไคโตซานต่อการเจริญของแคลลัสข้าวหอมมะลิแดง 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 31 กรกฎาคม 2564 
การประชุม
     ชื่อการประชุม งานประชุมระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม(มหาวิทยาลัยแม่โจ้) ครั้งที่ 2 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 
     สถานที่จัดประชุม ห้องเอกภพวิทยา อาคารจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 
     จังหวัด/รัฐ เชียงใหม่ 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 18 มีนาคม 2565 
     ถึง 18 มีนาคม 2565 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 658-666 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ ข้าวเป็นพืชเศรษกิจสำคัญของประเทศไทย แต่ในปัจจุบันปริมาณการส่งออกข้าวลดลง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศส่งผลกระทบให้การเจริญและผลผลิตข้าวลดลง งานวิจัยนี้มีวัตุประสงค์เพื่อศึกษาผลของ ความเครียดเค็ม ความเครียดแล้ง และไคโตซานต่อการเจริญของแคลลัส โดยทำการฟอกฆ่าเชื้อเมล็ดด้วยสารละลาย โซเดียมไฮเปอร์คลอไรด์ (คลอรอกซ์) 15 เปอร์เซ็นต์เป็นเวลา 20 นาที และชักนำให้เกิดแคลลัสในอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสูตร Murashige and Skoog (MS) ร่วมกับ 2,4-Dichlorophenoxyacetic acid (2,4-D) 2 mg/l และ6-benzylamino- purine (BAP) 0.1 mg/l เพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการภายใต้ความเข้มแสง 1,000 Lux เป็นเวลา 16 ชั่วโมงต่อวัน ที่อุณหภูมิ 25±2 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ จากนั้นนำแคลลัสที่ได้มาตัดให้ได้ขนาด 0.4 x 0.4 เซนติเมตร และย้ายลงอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสูตรเดิมร่วมกับโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ที่ความเข้มข้น 0, 100, 150 และ 200 มิลลิโมลาร์ โพลิเอทิลีนไกลคอล (PEG (6000)) ความเข้มข้น 0, 0.5, 1, 1.5 และ 2 % (v/v) และไคโตซานที่ระดับ ความเข้มข้น 0, 25, 50 และ 100 ppm เพาะเลี้ยงเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว พบว่า เปอร์เซ็นต์การรอดชีวิต เปอร์เซ็นต์การตอบสนอง น้ำหนักสด น้ำหนักแห้งลดลง เมื่อความเข้มข้นของ NaCl และ PEG เพิ่มขึ้น ในอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่เติมไคโตซาน 50 ppm พบว่าแคลลัสมีน้ำหนักสด น้ำหนักแห้งเฉลี่ยสูงที่สุด เมื่อความเข้มข้นของไคโตซานเพิ่มขึ้นจะมีจุดสีเขียว (Green spot) บนแคลลัสเพิ่มขึ้น ผลการวิจัยนี้เป็นข้อมูลสำคัญที่สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการปรับปรุงสายพันธุ์ข้าวให้มีความทนทานต่อความเครียดจากปัจจัยทางกายภาพต่างๆ ได้  
ผู้เขียน
625020001-8 น.ส. กองทอง ไพลขุนทด [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิทยาศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) ไม่มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ได้รับรางวัล 
     ชื่อรางวัล รางวัลการนำเสนอผลงานวิจัย ระดับชมเชย ประเภทการนำเสนอปากเปล่า (Oral Presentation) กลุ่มวิทยาศาสตร์ชีวภาพ 
     ประเภทรางวัล รางวัลด้านวิชาการ วิชาชีพ 
     หน่วยงาน/องค์กรที่มอบรางวัล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 
     วัน/เดือน/ปี ทีด้รับรางวัล 18 กุมภาพันธ์ 2564 
แนบไฟล์
Citation 0