2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การเปรียบเทียบขนาดตัวอย่างและความยาวแบบสอบสำหรับการประมาณค่าพารามิเตอร์ข้อสอบตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 30 กันยายน 2565 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิธีวิทยาการวิจัย 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
     ISBN/ISSN ISSN 0857-2933 ISSN 2697-4835 (Online) 
     ปีที่ 36 
     ฉบับที่
     เดือน พฤษภาคม ถึง กันยายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2566 
     หน้า 23 
     บทคัดย่อ ปัญหาสำคัญของทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ (Item Response Theory: IRT) คือต้องมีขนาดตัวอย่างที่ใหญ่เพียงพอจึงจะประมาณค่าพารามิเตอร์ได้อย่างแม่นยำ ด้วยเหตุนี้เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณ เวลา และกำลังคนจึงจำเป็นต้องมีการศึกษาหาขนาดตัวอย่างต่ำสุดที่เหมาะสมกับความยาวแบบสอบขนาดต่าง ๆ ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของขนาดตัวอย่างและความยาวแบบสอบที่มีต่อการประมาณค่าพารามิเตอร์ของข้อสอบใน IRT ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยเป็นข้อมูลทุติยภูมิจากสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ซึ่งเป็นข้อมูลผลการตอบข้อสอบรายข้อจากการทดสอบ O-NET ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เฉพาะข้อสอบปรนัยแบบเลือกตอบที่ให้คะแนนแบบ 2 ค่า จำนวน 3 ความยาวแบบสอบ ได้แก่ วิชาคณิตศาสตร์ จำนวน 20 ข้อ วิชาภาษาไทย จำนวน 40 ข้อ และวิชาภาษาอังกฤษ จำนวน 50 ข้อ กำหนดขนาดตัวอย่างสำหรับศึกษาตามเงื่อนไข จำนวน 6 ขนาด ได้แก่ 200 300 400 500 700 และ 1,000 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม R และ SPSS กำหนดเกณฑ์เปรียบเทียบผลการประมาณค่าพารามิเตอร์ของข้อสอบกับค่าพารามิเตอร์ที่แท้จริงด้วยโมเดลแบบ 3 พารามิเตอร์ โดยต้องมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) ≥ 0.70 และค่ารากที่สองของความแตกต่างกำลังสองเฉลี่ย (RMSD) ≤ 0.33 ในทุกพารามิเตอร์ (a, b, c) ผลการวิจัย พบว่า การประมาณค่าพารามิเตอร์ของข้อสอบ แบบ 3 พารามิเตอร์ ที่แม่นยำ สำหรับแบบสอบที่มีความยาว 20 ข้อ ขนาดตัวอย่างขั้นต่ำ 1,000 คน ยังไม่เหมาะสมเพียงพอ ส่วนแบบสอบที่มีความยาว 40 ข้อ ควรใช้ขนาดตัวอย่างขั้นต่ำ 700 คน ในขณะที่แบบสอบที่มีความยาว 50 ข้อ ที่มีความแปรปรวนขององค์ประกอบแรกน้อยกว่าร้อยละ 10 พบว่าขนาดตัวอย่างขั้นต่ำ 1,000 คน ยังไม่เหมาะสมเพียงพอ เพราะการประมาณค่าพารามิเตอร์ของข้อสอบยังขาดความคงที่และขาดความแม่นยำ 
     คำสำคัญ ขนาดตัวอย่าง, ความยาวแบบสอบ, ค่าพารามิเตอร์ของข้อสอบ, ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ 
ผู้เขียน
617050019-4 นาย ปราโมทย์ โสภา [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0