|
ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
|
ชื่อบทความ |
ผลของโปรแกรมการทำความสะอาดช่องปากต่อสุขภาพช่องปากและอุบัติการณ์การเกิด ปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับเครื่องช่วยหายใจ |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
17 ตุลาคม 2565 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารสภาการพยาบาล |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
สภาการพยาบาล |
ISBN/ISSN |
1513-1262 |
ปีที่ |
37 |
ฉบับที่ |
4 |
เดือน |
ตุลาคม-ธันวาคม |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2565 |
หน้า |
|
บทคัดย่อ |
ผลของโปรแกรมการทำความสะอาดช่องปากต่อสุขภาพช่องปากและอุบัติการณ์การเกิด
ปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับเครื่องช่วยหายใจ
อรดา สีหาราช พย.บ.1
ดลวิวัฒน์ แสนโสม PhD2
คำผล สัตยวงษ์ พย.ม3
อนุพล พาณิชโชติ พบ.,วว.อายุรศาสตร์, วว.เวชบำบัดวิกฤต4
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการทำความสะอาดช่องปากต่อสุขภาพช่องปากและอุบัติการณ์การเกิดปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยวิกฤตที่ใส่ท่อช่วยหายใจ
การออกแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง แบบ 2 กลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการทดลอง
การดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยวิกฤต อายุ 18 ปีขึ้นไปจำนวน 50 คน แบ่งเป็นกลุ่มวคบคุม 25 คนและกลุ่มทดลอง 25 คน และพยาบาลวิชาชีพ 49 คน ในโรงพยาบาลระดับเหนือตติยภูมิทำหน้าที่เป็นผู้ใช้โปรแกรม เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการทำความสะอาดช่องปาก ชุดกิจกรรมป้องกันการเกิดปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับเครื่องช่วยหายใจ (Ventilator-associated pneumonia bundle: VAP bundle) แบบวินิจฉัย VAP แบบประเมินสภาวะสุขภาพช่องปาก (Oral Health Assessment Tools: OHAT) แบบประเมินปริมาณคราบจุลินทรีย์บนผิวฟัน (Silness-Löe Plaque Index: PI) แบบประเมินปริมาณเสมหะเหนือกระเปาะลมท่อช่วยหายใจ (Supra-Endotrachial Tube cuff secretion score) และแบบบันทึกสมรรถนะ ความมีวินัย และความพึงพอใจของพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติ Mid p-values, 95% confidence intervals, two-way repeated measures ANOVA, และ One-sample T test
ผลการวิจัย: ภายหลังสิ้นสุดโปรแกรมพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ย OHAT, PI, secretion น้อยกว่ากลุ่มควบคุม (OHATexp= 3.9, OHATcom= 5.84; p<0.001; η_p^2 = 0.46; PIexp= 0.99, PIcon= 1.96; p< 0.001; η_p^2 = 0.54; secretion scoreexp = 1.88 secretion scorecon= 2.63; p< 0.001; η_p^2 = 0.53 ตามลำดับ) ค่าเฉลี่ย OHAT, PI, secretion score ในวันที่ 2, 4 และ 7 หลังใส่ท่อช่วยหายใจในกลุ่มทดลองมีแนวโน้มลดลง ส่วนกลุ่มควบคุมมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น ผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มไม่เกิด Early-onset VAP และเฉพาะผู้ป่วยกลุ่มควบคุมเท่านั้นที่เกิด Late-onset VAP ด้วยอุบัติการณ์ 35.08 ครั้ง/1,000 วันใช้เครื่องช่วยหายใจ ผลต่างของอุบัติการณ์การเกิด VAP ระหว่างสองกลุ่ม เท่ากับ -35.08 ครั้งต่อ1000 วันใช้เครื่องช่วยหายใจ (p = 0.017; 95% CI[-63.16,-7.01]) พยาบาลวิชาชีพมีสมรรถนะในการใช้โปรแกรมฯ ร้อยละ 98.64 (p<0.001) มีวินัยร้อยละ 99.14 (p<0.001) และมีความพึงพอใจโดยรวมร้อยละ 93.8 (p=0.002)
ข้อเสนอแนะการนำผลการวิจัยไปใช้: โปรแกรมการทำความสะอาดช่องปาก ช่วยให้สุขภาพช่องปากดีขึ้น ลดปริมาณเสมหะเหนือกระเปาะลมท่อช่วยหายใจ ลดอุบัติการณ์ VAP และโปรแกรมฯ สามารถนำไปใช้ได้การปฏิบัติงานในคลินิก
|
คำสำคัญ |
โปรแกรม, การทำความสะอาดช่องปาก, สุขภาพช่องปาก, อุบัติการณ์, ปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับเครื่องช่วยหายใจ |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|
|
|
|
|
|