2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การวิเคราะห์การคิดเชิงพีชคณิตในโจทย์ปัญหาจากหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 2 เมษายน 2565 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 14 The 14th Graduate Research Conference  
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 
     สถานที่จัดประชุม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 
     จังหวัด/รัฐ อุบลราชธานี 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 2 เมษายน 2565 
     ถึง 2 เมษายน 2565 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 14 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 180-191 
     Editors/edition/publisher ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชนันรัตน์ รูปใหญ่ 
     บทคัดย่อ การวิจัยในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การคิดเชิงพีชคณิตในหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ที่เน้นการแก้ปัญหาในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยการวิจัยในครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเชิงคุณภาพแล้วสรุปเป็นเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลจากหนังสือเรียนที่เน้นการแก้ปัญหา และข้อมูลจากการสนทนากลุ่มของผู้ที่มีประสบการณ์และมีความเข้าใจในหนังสือเรียน จำนวนทั้งหมด 9 คน ประกอบไปด้วย อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน, นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 3 คน, ครูที่ใช้หนังสือเรียน จำนวน 3 คน โดยข้อมูลที่ได้จะถูกนำมาวิเคราะห์ตามกรอบแนวคิดของ Mason (2008) ประกอบด้วย 1) จังหวะและลำดับ 2) จัดการกับตัวไม่ทราบค่า 3) การทำให้เป็นกรณีทั่วไป 4) การคิดเกี่ยวกับเลขคณิต 5) การตระหนักในโครงสร้างของเลขคณิต ผลการวิจัย พบว่า พบว่าหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ที่เน้นการแก้ปัญหาในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ประกอบด้วยบทเรียนทั้งหมด 13 บทเรียน โจทย์ปัญหาทั้งหมด 208 โจทย์ปัญหา พบการคิดเชิงพีชคณิตในบทเรียน 11 บทเรียน และพบการคิดเชิงพีชคณิตในโจทย์ปัญหา 194 โจทย์ปัญหา คิดเป็นร้อยละ 93.27 โดยแบ่งออกเป็น 1) จังหวะและลำดับจำนวน 24 โจทย์ปัญหา คิดเป็นร้อยละ 11.38, 2) จัดการกับตัวไม่ทราบค่าจำนวน 13 โจทย์ปัญหา คิดเป็นร้อยละ 6.17, 3) การทำให้เป็นกรณีทั่วไปจำนวน 19 โจทย์ปัญหา คิดเป็นร้อยละ 9, 4) การคิดเกี่ยวกับเลขคณิตจำนวน 117 โจทย์ปัญหา คิดเป็นร้อยละ 55.4 และ 5) การตระหนักในโครงสร้างของเลขคณิตจำนวน 38 โจทย์ปัญหา คิดเป็นร้อยละ 18 นอกจากนั้นยังพบว่าใน 1 โจทย์ปัญหานั้นยังมีการคิดเชิงพีชคณิตมากกว่า 1 รูปแบบอีกด้วย ซึ่งจะเห็นได้ว่าแม้โดเมนด้านพีชคณิตจะไม่ปรากฏในสารบัญของหนังสือเรียน แต่ทุกโดเมนจะมีเนื้อหาด้านพีชคณิตอยู่เสมอ ทำให้นักเรียนสามารถเกิดการเรียนรู้พีชคณิตได้ในทุกเนื้อหา 
ผู้เขียน
635050175-8 นาย ยุทธพิชัย ข่าทิพย์พาที [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 2395