2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การศึกษาอัตราส่วนของแกลบที่ผสมกับปุ๋ยหมักเปลือกมันสำปะหลังต่อคุณสมบัติดินในพื้นที่ดินเค็มจังหวัดบุรีรัมย์ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 31 ตุลาคม 2565 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารแก่นเกษตร 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร กองบรรณาธิการ วารสารแก่นเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 51 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-กุมภาพันธ์
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2566 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงอิทธิพลของปุ๋ยหมักเปลือกมันสำปะหลังกับแกลบในอัตราต่างกันที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดิน ได้ทำการศึกษาที่บ้านดอน อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นพื้นที่ดินเค็มปานกลาง (4.3 ds/m) มีการศึกษาวางแผนการทดลองแบบ randomized complete block design, (RCBD) ประกอบด้วย 4 กรรมวิธีทดลอง ได้แก่ แปลงควบคุม ปุ๋ยหมักเปลือกมันสำปะหลังอัตรา 3,000 กิโลกรัมต่อไร่ ปุ๋ยหมักเปลือกมันสำปะหลังอัตรา 3,000 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับแกลบอัตรา 500 กิโลกรัมต่อไร่ และปุ๋ยหมักเปลือกมันสำปะหลังอัตรา 3,000 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับแกลบอัตรา 1,000 กิโลกรัมต่อไร่ จำนวน 3 ซ้ำ ผลการศึกษาพบว่า ในทุกตำรับการทดลองที่มีการใช้ปุ๋ยหมักเปลือกมันสำปะหลังร่วมกับแกลบในอัตราต่างๆ มีแนวโน้มทำให้ความหนาแน่นของดินลดลง ยกเว้นกรรมวิธีทดลองควบคุม เมื่อใส่วัสดุอินทรีย์ในทุกกรรมวิธีทดลอง ยกเว้นแปลงควบคุมพบว่า ค่าการนำไฟฟ้าของดิน (EC) ลดลงมากถึง 44.62% และการใช้วัสดุอินทรีย์สามารถเพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารให้กับดิน ซึ่งพบว่า ปริมาณไนโตรเจน ปริมาณฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับแปลงควบคุม ผลการลดลงของค่าการนำไฟฟ้าของดิน จากการใส่วัสดุอินทรีย์ต่างๆ ชี้ให้เห็นว่าเป็นสาเหตุหลักของการลดลงของค่าความเค็มในดิน 
     คำสำคัญ วัสดุอินทรีย์; แกลบ; เปลือกมันสำปะหลัง; ดินเค็ม; คุณสมบัติดิน  
ผู้เขียน
605030040-0 นาย อรรถพล เปลื้องไธสง [ผู้เขียนหลัก]
คณะเกษตรศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0