2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ วาทกรรมทางคณิตศาสตร์ของครูและนักเรียนในชั้นเรียนที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 6 พฤศจิกายน 2565 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติครั้งที่ 2 และระดับนานาชาติ ครั้งที่ 1 หัวข้อ “การจัดการท้องถิ่นให้เข้มแข็งด้วยนวัตกรรมทางสังคม บนพื้นฐานสหวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์” 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 
     สถานที่จัดประชุม แบบออนไลน์ (Online Presentation) ด้วยโปรแกรม ZOOM Cloud Meetings และรูปแบบออนไซต์ (Onsite Presentation) ณ ห้องประชุมเอื้องสายส่องแสง ชั้น 3 สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 
     จังหวัด/รัฐ  
     ช่วงวันที่จัดประชุม 6 พฤศจิกายน 2565 
     ถึง 6 พฤศจิกายน 2565 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2565 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 410-421 
     Editors/edition/publisher คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม 
     บทคัดย่อ การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์วาทกรรมทางคณิตศาสตร์ของครูและนักเรียนในชั้นเรียนที่ใช้ การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด โดยทำการวิจัยผ่านการศึกษาข้อมูลจากการวิเคราะห์โพรโทคอลของครู นักเรียน และ ทีมการศึกษาชั้นเรียน ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลตามกรอบการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิดของ ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ (2557) ร่วมกับกรอบการวิเคราะห์ข้อมูลตามกรอบแนวคิดการคิดเชิงการสื่อสารของ Sfard (2007) ดำเนินการในภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2564 กลุ่มเป้าหมายคือ ครูและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนศรีเสมาวิทยาเสริม จังหวัดขอนแก่น ผลการวิจัยพบว่า วาทกรรมทางคณิตศาสตร์ของครูและนักเรียนในชั้นเรียนที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด ดำเนินการไปตามวงรอบของการศึกษาชั้นเรียน 3 ขั้นตอน ได้แก่ การสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน การสังเกตการสอน ร่วมกัน และการสะท้อนผลบทเรียนหลังการสอนร่วมกัน และขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิด 4 ขั้นตอน ได้แก่ การนําเสนอปัญหาปลายเปิด การเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียน การอภิปรายทั้งชั้นเรียนและการเปรียบเทียบ และการ สรุปโดยการเชื่อมโยงแนวคิดของนักเรียนที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน สำหรับเนื้อหาเรื่องลำดับและอนุกรมได้แสดงให้เห็นวาทกรรม ทางคณิตศาสตร์ที่เกิดขึ้น 4 ลักษณะ ได้แก่ การใช้คำที่มีลักษณะเฉพาะของวาทกรรม การใช้สื่อกลาง คำบรรยายที่ถูกรับรอง และรูปแบบที่ทำซ้ำ ๆ 
ผู้เขียน
635050173-2 น.ส. ธันวาพร ดีพลงาม [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum