2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ แนวคิดและกระบวนการสร้างสรรค์บทเพลงจากประเพณีบุญเข้ากรรม THE CREATION AND CONCEPT OF MUSIC COMPOSITIONS FROM “BOON KAO KHAM” CONVENTIONALISM  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 23 พฤศจิกายน 2565 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ครั้งที่ 4 "สัมพันธ์ภาพไร้พรมแดนผ่านศาสตร์ศิลป์ของมนุษยชาติ" 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธู์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม 
     สถานที่จัดประชุม วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ อ.เมือง จ.กาฬสินธู์ 
     จังหวัด/รัฐ กาฬสินธุ์ 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 23 พฤศจิกายน 2565 
     ถึง 23 พฤศจิกายน 2565 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2563 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 378-393 
     Editors/edition/publisher วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธู์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม 
     บทคัดย่อ แนวคิดและกระบวนการสร้างสรรค์บทเพลงจากประเพณีบุญเข้ากรรม THE CREATION AND CONCEPT OF MUSIC COMPOSITIONS FROM “BOON KAO KHAM” CONVENTIONALISM อิสรีย์ ฉายแผ้ว*, พรพรรณ แก่นอำพรพันธ์**, จตุพร สีม่วง*** Idsaree Chaipaew*, Pornpan Kaenampornpan**, Jatupron Seemuang*** บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดจากประเพณีบุญเข้ากรรมเพื่อนำไปใช้ในการสร้างสรรค์บทเพลงและเพื่อศึกษากระบวนการสร้างสรรค์บทเพลงจากประเพณีบุญเข้ากรรม จากการค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ภายใต้แนวคิด “ดนตรีไทยเป็นฐาน ผสมผสานดนตรี ในวัฒนธรรม” ผลการวิจัย พบว่า การเข้ากรรม คือ การอยู่ปริวาสกรรมของพระภิกษุสงฆ์ผู้ต้องอาบัติ โดยมีคติความเชื่อว่า การอยู่ร่วมกันในสังคมจะต้องมีกฎระเบียบเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อส่วนรวม พิธีกรรมคือ ชาวบ้านจะนิมนต์พระภิกษุสงฆ์มาเข้ากรรมเพื่อให้พระผู้ทำผิดได้สารภาพความผิดของตนต่อหน้าคณะสงฆ์ จากพิธีกรรมนี้จะนำไปสู่แนวคิดเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์บทเพลงจากบรรยากาศของความสงบ ความมีสติจากการนั่งสมาธิ การสวดมนต์ภาวนาของพระสงฆ์ อารมณ์ของบทเพลงจะมีลักษณะ สงบ จังหวะช้า วงดนตรีที่ใช้ในการบรรเลงคือ วงเครื่องสายผสมดนตรีพื้นบ้านอีสาน โดยเลือกใช้เครื่องดนตรีที่ทำให้เกิดอารมณ์ที่สอดสอดคล้องกับบทเพลง ได้แก่ แคน โหวด ปี่ภูไท ไหซอง กลองอีสาน เพี่อแสดงออกถึงความสงบ ผู้วิจัยจึงนำ ระฆัง เข้ามาบรรเลงประกอบในบางช่วงของบทเพลง คำสำคัญ : บุญเข้ากรรม, แนวคิด, การสร้างสรรค์ ______________________________ *, **, *** คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น Faculty of Fine and Applied Arts, Khon Kaen University. Abstract The objective of this research is to study the creation and concept music composition from Boon Kao Kham conventionalism using by studying documents and related research and interviews with experts in order to analyze data according to objectives under the concept of " Thai music combined with music in culture". The results of the research showed that Kao Kham means the ritual that punishes the offender monk through believing coexistence in society of required rules to prevent in the public damages. The ritual was villagers who invite monks to attending of Kao Kham ceremony so that monks who make mistakes to confess their own the offense to monk clergy. From this the ritual, the concept brought about to crating inspiration in creation music composition from a calm atmosphere, consciousness from meditation, a monk praying and a mood of the music composition was calm and slow beat. The ensemble was Thai string ensemble that combined with Isan folk music through the selection of Isan folk instruments to help convey emotions including Khan, Vod, Pie Phuthai, Hi Song, Esan drum and then some part of this music composition, researchers brought Bell in order to show calmness. Key words: Boon Kao Kham, Concept, Creation  
ผู้เขียน
607220004-0 นาง อิสรีย์ ฉายแผ้ว [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0