ชื่อบทความ |
การศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตน้ำมันเดชาในโรงพยาบาลนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
8 ธันวาคม 2565 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารเภสัชกรรมไทย (Thai Journal of Pharmacy Practice, TJPP) |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
ISBN/ISSN |
|
ปีที่ |
16 |
ฉบับที่ |
1 |
เดือน |
มกราคม-มีนาคม |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2567 |
หน้า |
|
บทคัดย่อ |
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินความเป็นไปได้ในการผลิตน้ำมันเดชาใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านกฎหมาย ด้านการตลาด ด้านเทคนิค และด้านการเงิน วิธีการ: ผู้วิจัยสัมภาษณ์เชิงลึกในผู้ให้ข้อมูล 2 กลุ่ม คือ 1) ผู้เชี่ยวชาญการผลิตน้ำมันเดชาสองท่านจากกองพัฒนายาแผนไทยและสมุนไพร กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกในเรื่องกระบวนการผลิตน้ำมันเดชา และ 2) เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลนิคมคำสร้อยรวม 7 คน ประกอบด้วยผู้อำนวยการ เภสัชกร 2 คน แพทย์แผนไทย 1 คน และพนักงานผลิต 3 คนในประเด็นที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานจริงในปัจจุบัน ผู้วิจัยยังจัดประชุมเภสัชกร 2 คน แพทย์แผนไทย 1 คน และพนักงานผลิต 3 คน โดยจัดทั้งหมด 3 ครั้งเพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ในการผลิตน้ำมันเดชา นอกจากนี้ ผู้วิจัยสังเกตแบบมีส่วนร่วม ณ สถานที่ผลิตของโรงพยาบาลเป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ โดยเก็บเวลาที่ใช้ในกิจกรรมการผลิต ผลการวิจัย: ในการลงทุนผลิตน้ำมันเดชา ต้องใช้เงินลงทุนจากงบเงินบำรุงโรงพยาบาลเริ่มต้น 687,160 บาท การดำเนินโครงการ 5 ปีจะได้ผลตอบแทนคำนวณเป็นมูลค่า มูลค่าสุทธิในปัจจุบันเท่ากับ 1.35 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนภายในเท่ากับร้อยละ 77 และระยะเวลาในการคืนทุน เท่ากับ 1 ปี 10 เดือน 28 วัน สรุป: การวิเคราะห์พบว่ามีความเป็นไปได้ในการผลิตน้ำมันเดชาในโรงพยาบาลนิคมคำสร้อยทั้งด้านกฎหมาย ด้านการตลาด ด้านเทคนิค และด้านการเงิน ภายใต้กำลังการผลิตที่สอดรับกับปริมาณวัตถุดิบที่สามารถจัดหาได้จากแหล่งปลูกกัญชาทางการแพทย์ |
คำสำคัญ |
กัญชา, กัญชาทางการแพทย์, น้ำมันเดชา, การผลิตผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
ไม่มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|