2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การสะสมทางชีวภาพของสารหนู ตะกั่ว และแคดเมียมของปลานิล น้ำ และตะกอนดินจากบ่อรวบรวมน้ำบริเวณแหล่งกำจัดขยะของเทศบาลนครขอนแก่น (Bioaccumulation of Arsenic, Lead, and Cadmium in Nile Tilapia, Water, and Sediment from Waste Ponds in Landfill of Khon Kaen Municipality, Thailand) 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 4 มกราคม 2566 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารสัตวแพทยศาสตร์ มข. 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  
     ISBN/ISSN 2672-9466 
     ปีที่ 2566 
     ฉบับที่ 32 
     เดือน Jul-Dec
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2566 
     หน้า  
     บทคัดย่อ บทนำ การปนเปื้อนของโลหะหนักในสิ่งแวดล้อมอาจเกิดได้จากการกำจัดขยะที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ วัตถุประสงค์ เพื่อหาปริมาณการสะสมของสารหนู ตะกั่ว และแคดเมียมในปลานิล (Oreochromis niloticus) ที่อาศัยในบ่อรวบรวมน้ำที่อยู่ในแหล่งกำจัดขยะของเทศบาลนครขอนแก่น และการวัดค่าสะสมทางชีวภาพในปลา วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ เก็บตัวอย่างน้ำและตะกอนดินจากบ่อรวบรวมน้ำในแหล่งกำจัดขยะของเทศบาลนครขอนแก่น จำนวนชนิดละ 10 ตัวอย่าง และตัวอย่างปลานิลที่อาศัยในบ่อจำนวน 30 ตัว โดยเก็บชิ้นส่วนแยกเป็นกล้ามเนื้อ เหงือก และตับของปลา เพื่อวิเคราะห์หาปริมาณโลหะหนักตามวิธีมาตรฐานและประเมินค่าการสะสมทางชีวภาพ ผลการศึกษา ปริมาณของสารหนู ตะกั่ว และแคดเมียมในน้ำมีค่าเฉลี่ย 0.016±0.004, 0.032±0.004 และ 0.009±0.003 mg/l ตามลำดับ ปริมาณที่พบในตะกอนดินมีค่าเฉลี่ย 49.767±6.309, 86.663±4.321 และ 20.474±3.616 mg/kg ตามลำดับ ตัวอย่างน้ำและตะกอนดินทั้งหมดมีค่าสารหนูสูงเกินกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนดโดยคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ค่าเฉลี่ยของสารหนู ตะกั่ว และแคดเมียมที่สะสมในกล้ามเนื้อปลานิลมีค่า 0.067±0.135, 0.078±0.173 และ 0.040±0.102 mg/kg ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบปริมาณโลหะหนักระหว่างกล้ามเนื้อ เหงือก และตับปลา พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทั้งสามชนิดของโลหะหนัก (P<0.05 ทุกชนิด) ค่าการสะสมทางชีวภาพในกล้ามเนื้อปลามีค่า 4.08, 2.44 และ 4.43 สำหรับสารหนู ตะกั่ว และแคดเมียมตามลำดับ สัดส่วนของปลาที่มีค่าตะกั่วในกล้ามเนื้อเกินกว่าค่าสูงสุดที่กำหนดโดยสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ คิดเป็นร้อยละ 10 สรุป ปลานิลที่อาศัยในบ่อรวบรวมน้ำบริเวณแหล่งกำจัดขยะถึงร้อยละ 10 มีค่าปริมาณตะกั่วที่พบในกล้ามเนื้อสูงกว่าค่ามาตรฐานสำหรับอาหาร และปริมาณสารหนูทั้งในน้ำและตะกอนดินทุกตัวอย่างมีค่าสูงกว่าค่ามาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม ผลการศึกษาแสดงถึงอันตรายจากการบริโภคปลานิลที่มาจากสิ่งแวดล้อมที่ปนเปื้อนโลหะหนัก และแสดงถึงเส้นทางการปนเปื้อนของโลหะหนักจากแหล่งกำจัดขยะสู่ผู้บริโภคผ่านทางห่วงโซ่อาหาร  
     คำสำคัญ ปลานิล โลหะหนัก การสะสมทางชีวภาพ 
ผู้เขียน
605180006-3 น.ส. สุดา จายหลวง [ผู้เขียนหลัก]
คณะสัตวแพทยศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0