2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ รัฐชายแดนจำบัง: การเคลื่อนและข้ามของขอบเขตระหว่างมนุษย์กับสิ่งของในช่วงการค้าชายแดน บริเวณจุดผ่อนปรนการค้าชายแดนไทย-ลาว จังหวัดนครพนม (Border regime: The movement of boundaries between humans and material during the border trade at the Checkpoint for Border Trade on Thailand-Laos Border Nakhon Phanom Province) 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 21 พฤศจิกายน 2563 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติด้านมานุษยวิทยาและสังคมวิทยา ครั้งที่ 2 "คลี่-คลาย-ญ่าย-เคลื่อน" 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมกับศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) 
     สถานที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 
     จังหวัด/รัฐ อุบลราชธานี 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 20 พฤศจิกายน 2563 
     ถึง 21 พฤศจิกายน 2563 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์
     Editors/edition/publisher ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชรี ศรีคำ บรรณาธิการ 
     บทคัดย่อ บทความนี้นำเสนอพลวัตการควบคุมพื้นที่ชายแดนไทย – สปป.ลาว จุดผ่อนปรนท่าอุเทน จังหวัดนครพนม โดยใช้แนวคิดระบอบชายแดนในการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ ข้อมูลที่ปรากฏในบทความเป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและข้อมูลภาคสนามด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ประกอบกับการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม มีผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อาวุโสในชุมชน เจ้าหน้าที่รัฐไทย ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินกิจกรรมการค้าชายแดน และผู้ซื้อสินค้าชาวไทย เป็นต้น การเลือกผู้ให้ข้อมูลใช้ทั้งวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงและการเลือกแบบให้ผู้ให้ข้อมูลบอกต่อผู้ให้ข้อมูลคนต่อไป ผลการศึกษาพบว่า หลังสิ้นสุดสงครามเย็น กระบวนการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ชายแดนสมัยใหม่ ที่เปลี่ยนจากพื้นที่ความมั่นคงของชาติ กลายเป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจภายใต้บริบทของเสรีนิยมใหม่ โดยเฉพาะในพื้นที่จุดผ่อนปรนการค้าชายแดนท่าอุเทน ซึ่งเป็นชุนชมชายแดนที่ผู้คนทั้งสองฝั่งโขงมีความสัมพันธ์ยึดโยงกันผ่านเครือญาติ และมีลักษณะร่วมทางชาติพันธุ์เดียวกัน อีกทั้งมีความสัมพันธ์ทางสังคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจมาอย่างยาวนาน ภายหลังหลังสงครามเย็นนโยบาย “เปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้า” ซึ่งเป็นระบอบชายแดนที่เป็นระเบียบกฎเกณฑ์ ในการควบคุมกำกับกิจกรรมการค้าชายแดนของผู้คนและสินค้า สะท้อนให้เห็นว่าระบอบการควบคุมชายแดนที่รัฐมุ่งเน้นให้พื้นที่ชายแดนมีความเป็นสากลที่เข้มงวด เป็นการมองพื้นที่ชายแดนแบบแข็งทื่อ (hard border) ที่เน้นเพียงความมั่นคงของรัฐไม่สามารถทำความเข้าใจความซับซ้อนและพลวัตของพื้นที่ชายแดน ผู้เขียนจึงเสนอมุมมองในการทำความเข้าใจวิถีชีวิตทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ภายใต้การมองพื้นที่ชายแดนแบบยืดหยุ่น (soft border) ที่ไม่อาจละเลยความสำคัญของกฎจารีตท้องถิ่น ระบบอุปถัมภ์ ความสัมพันธ์แบบเครือญาติ ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่ยังดำรงอยู่ในพื้นที่ชายแดน ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของระบอบในการควบคุมพื้นที่ชายแดนในแต่ละยุคสมัย  
ผู้เขียน
607080006-4 พ.จ.อ. วัลลภ บุญทานัง [ผู้เขียนหลัก]
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Abstract 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0