2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การตรวจคัดกรองปริมาณสารประกอบทางเคมี ฤทธิ์ต้านออกซิเดชันและฤทธิ์ยับยั้ง การสร้างไนตริกออกไซด์ในสารสกัดอ้อยดำและเตยหอม สำหรับใช้เป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 30 ธันวาคม 2565 
วารสาร
     ชื่อวารสาร การตรวจคัดกรองปริมาณสารประกอบทางเคมี ฤทธิ์ต้านออกซิเดชันและฤทธิ์ยับยั้ง การสร้างไนตริกออกไซด์ในสารสกัดอ้อยดำและเตยหอม สำหรับใช้เป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 
     ISBN/ISSN ISSN: 2286-9999 
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน กรกฎาคม-ธันวาคม 2565
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2565 
     หน้า 111-130 
     บทคัดย่อ ในปัจจุบันได้นําอ้อยดํา (Saccharum sinenseRoxb.)มาทําเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพโดยมีการผสมกับใบเตย(Pandanus amaryllifoliusRoxb.) เพื่อช่วยให้ผลิตภัณฑ์มีกลิ่นหอมน่ารับประทาน จึงทําการศึกษาข้อมูลทางด้านองค์ประกอบทางพฤษเคมีและฤทธิ์ของสารสกัดอ้อยดําหรือผสมกับใบเตยจากเครื่องดื่มสมุนไพรเปรียบเทียบผลกับสารสกัดด้วยตัวทําละลายอินทรีย์ โดยตัวอย่างที่นํามาศึกษาคือตัวอย่างที่สกัดด้วยน้ําร้อน ได้แก่น้ําต้มอ้อยดําใบเตย(BPT) น้ําต้มอ้อยดํา(BT) น้ําต้มใบเตย(PT) และ ตัวอย่างที่สกัดด้วย 50%เอทานอล ได้แก่ สารสกัดอ้อยดํา(BE50) และสารสกัดใบเตย (PE50)นํามาทําการวิเคราะห์องค์ประกอบของสารทางพฤกษเคมีหาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวม (TPC) สารประกอบฟลาโวนอยด์(TFC)แอนโทไซยานิน(TAC)ทดสอบฤทธิ์ต้านออกซิเดชันและฤทธิ์ยับยั้งการสร้างไนตริกออกไซด์ผลการวิจัยพบว่ามีลักษณะลายพิมพ์โครมาโตกราฟีของสารแต่ละชนิดที่แตกต่างกันแสดงถึงองค์ประกอบของสารสําคัญแตกต่างกัน โดยสารสกัด 50%เอทานอลจะมีปริมาณTPC TFC และ TAC สูงกว่าสารสกัดด้วยน้ําร้อนนอกจากนี้ยังพบว่า BPT มี TFC และฤทธิ์ต้านออกซิเดชันใกล้เคียงกับBE50ส่วนฤทธิ์ยับยั้งการสร้างไนตริกออกไซด์พบว่าPE50มีค่าสูงที่สุด ถึงแม้ว่าเครื่องดึ่มอ้อยดําผสมใบเตยที่ได้จากการต้มในน้ําร้อนหรือในรูปแบบชาชงอาจจะให้สารสําคัญน้อยกว่าการสกัดด้วยเอทานอลแต่ก็ยังมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชันและฤทธิ์ยับยั้งการสร้างไนตริกออกไซด์ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย จึงเป็นข้อมูลพื้นฐานในการศึกษาต่อยอดและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากอ้อยดําต่อไป 
     คำสำคัญ อ้อยดํา, ใบเตย, เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ 
ผู้เขียน
615150004-6 น.ส. อริสา ฤทธิรณ [ผู้เขียนหลัก]
คณะเภสัชศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ตีพิมพ์แล้ว 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0