2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ผลการใช้ป้ายกระดานสื่อสารร่วมกับแอปพลิเคชันการสื่อสารเพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสารในเด็กที่มีภาวะออทิซึมUSING COMMUNICATION BOARDS IN COMBINATION WITH COMMUNICATION APPLICATION TO ENHANCE COMMUNICATION SKILLS IN CHILDREN WITH AUTISM 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 4 กุมภาพันธ์ 2566 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมสัมมนาวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 1 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยศรีประทุม วิทยาเขตขอนแก่นร่วมกับ สมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทยและมหวทยาลัยในเครือ 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมเจริญธานี  
     จังหวัด/รัฐ จังหวัดขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 4 กุมภาพันธ์ 2566 
     ถึง 4 กุมภาพันธ์ 2566 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2566 
     Issue (เล่มที่) ED-034 
     หน้าที่พิมพ์ ED-034 (1716-1721)  
     Editors/edition/publisher
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ เด็กที่มีภาวะออทิซึมมักปัญหาในการรับรู้ทางภาษาและการแสดงออกทางภาษา การสื่อความหมาย ส่งผลให้มีความยากลำบากในการสื่อสาร วัตถุประสงค์การวิจัยคือ 1) เพื่อสร้างชุดสื่อป้ายกระดานสื่อสาร ที่ใช้ร่วมกับแอปพลิเคชันการสสื่อสารในการส่งเสริมทักษะการสื่อสารในเด็กที่มีภาวะออทิซึม 2)เพื่อเปรียบเทียบผลการใช้ป้ายกระดานสื่อสารร่วมกับแอปพลิเคชันการสสื่อสารก่อนและหลังในการส่งเสริมทักษะการสื่อสารของเด็กที่มีภาวะออทิซึม กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ เด็กที่มีภาวะออทิซึม อายุระหว่าง 4- 8 ปี จำนวน 5 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ป้ายกระดานสื่อสาร 2) แอปพลิเคชันการสสื่อสาร 3) แผนการจัดการเรียนรู้ 4) แบบประเมินการใช้ป้ายกระดานสื่อสารร่วมกับแอปพลิเคชันการสสื่อสารเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารในเด็กที่มีภาวะออทิซึม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานคือค่าความถี่ ร้อยละ และเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนก่อนและหลังการใช้นวัตกรรม ผลการวิจัยพบว่า ผลการสร้างป้ายกระดานสื่อสารร่วมกับแอปพลิเคชันการสื่อสารเพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสารในเด็กที่มีภาวะออทิซึม มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.66 - 1.00 และคะแนนประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับ 5 คือ มีความเหมาะสมมากที่สุด และผลการเปรียบเทียบการใช้การใช้ป้ายกระดานสื่อสารร่วมกับ แอปพลิเคชันการสสื่อสารเพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสารในเด็กที่มีภาวะออทิซึม คะแนนการประเมินการใช้ป้ายกระดานสื่อสารร่วมกับแอปพลิเคชันการสสื่อสารเพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสารในเด็กที่มีภาวะออทิซึม ทั้ง 5 คน มีระดับทักษะการสื่อสารสูงกว่าก่อน การทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คำสำคัญ: ป้ายกระดานสื่อสารร่วมกับแอปพลิเคชันการสื่อสาร, ทักษะการสื่อสารในเด็กที่มีภาวะออทิซึม, เด็กที่มีภาวะออทิซึม Abstract Children with autism often have problems with language perception, expression, and interpretation resulting in communication difficulties. The objectives are : 1) To create a communication board media set used in conjunction with the communication applications. And 2) To compare the effects of using a communication board with communication applications before and after the development of communication skills in children with autism. The target group used in this study was 5 children with autism, aged 4-8 years, by purposive sampling. The research instruments consisted of 1) communication boards 2) communication applications 3) lesson plans 4) assessment forms of using communication boards in combination with communication applications to enhance communication skills in children with autism. The data were analyzed using basic statistics such as frequency, and percentage, and comparing the difference of scores before and after the innovation was applied with The Wilcoxon Signed Ranks Test. The results showed that creating communication boards in combination with communication applications to enhance communication skills in children with autism has an Index of Item Objective Congruence (IOC) between 0.66 - 1.00 and the suitability assessment score was at level 5 being the most appropriate. The comparison of using communication boards in combination with communication applications to enhance communication skills in children with autism found that the score of assessment of using communication boards in combination with communication applications to enhance communication skills for 5 children with autism had higher communication skills than before the experiment with statistically significant at the 0.05 level. Keywords: communication boards in combination with communication applications, communication skills, children with autism  
ผู้เขียน
635050198-6 นาง อนงค์ คะเซ็นแก้ว [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ นานาชาติ 
รูปแบบ Proceeding Abstract 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0