2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การศึกษาความต้องการอาหารเพื่อสุขภาพสาหรับผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นวาย และเจนเนอเรชั่นซี กรณีศึกษา: เขตเทศบาล เมือง อาเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 3 มีนาคม 2566 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร วิทยาลัยศึกษาบัณฑิตการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN 1906-3180 
     ปีที่ 16 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2566 
     หน้า  
     บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ (2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความต้องการอาหารเพื่อสุขภาพ (3) ศึกษาความต้องการผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพของกลุ่มผู้บริโภคเจนเนอเรชั่นวาย และเจนเนอเรชั่นซี กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มประชากรที่มีไลฟ์สไตล์เหมือนกลุ่มคนเจเนอเรชั่นวาย และเจนเนอเรชั่นซี และ มีอายุระหว่าง 10-35 ปี จำนวน 400 คน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความถี่ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ t-Test และ F-Test จากวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า (1) พฤติกรรมของผู้บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพส่วนมากเลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ คือ อาหารครบ 5 หมู่ มีค่าใช้จ่ายต่อครั้งในการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ คือ น้อยกว่า 100 บาท มีช่องทางรับรู้ข่าวสารอาหารเพื่อสุขภาพ คือ อินเทอร์เน็ต/โซเชียลเน็ตเวิรค์ เหตุผลในการเลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ คือ เพื่อสุขภาพที่ดี มีทัศนคติเกี่ยวกับอาหารเพื่อสุขภาพ คือ อาหารเพื่อสุขภาพเต็มไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ ความถี่ในการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ คือ 2–3 ครั้งต่ออาทิตย์ และมีช่องทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ คือ เฟสบุ๊ค (2) ระดับความสำคัญของรูปแบบพฤติกรรมในการเลือกบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (3) ผู้บริโภคมีความต้องการทางด้านผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ผู้บริโภคมีความต้องการสูงสุด คือ ด้านรับประกัน (Warranty) รองลงมาคือ ด้านอุปกรณ์ (Accessory) และด้านคุณค่าของด้านผลิตภัณฑ์ (Value) ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐานการวิจัย พบว่า ผลการเปรียบเทียบระดับความต้องการผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ด้านระดับการศึกษา มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบพฤติกรรมในการเลือกบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพโดยรวมกับความต้องการด้านผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ ของกลุ่มคนเจนเนอเรชั่นวาย และเจนเนอเรชั่นซี ในเขตเทศบาลเมือง อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร พบว่า โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์ในระดับสูง และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน 
     คำสำคัญ อาหารเพื่อสุขภาพ, เจนเนอเรชั่น วาย, เจนเนอเรชั่น ซี, พฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ 
ผู้เขียน
625210034-5 นาย ธีรศักดิ์ โภคทรัพย์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ ไม่เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0