2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article วิเคราะห์พุทธธรรมที่ปรากฏในงานศิลปกรรมในนครหลวงเวียงจันทน์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงศาสนา 
Date of Acceptance 8 March 2023 
Journal
     Title of Journal วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ สมาคมหลวงพ่อใหญ 
     Standard TCI 
     Institute of Journal สำนักงานวารสาร สมาคมหลวงพ่อใหญ่ 39/21 ม.9 ต.ทรงคะนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ 10130 
     ISBN/ISSN 2697-6471 (Online) 
     Volume
     Issue
     Month พฤภาคม -มิถุนายน
     Year of Publication 2023 
     Page
     Abstract วิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ปรากฏในงานศิลปกรรม 2) ศึกษางานศิลปกรรมในนครหลวงเวียงจันทน์สปป.ลาว และ 3)วิเคราะห์พุทธธรรมที่ปรากฏในงานศิลปกรรมในนครหลวงเวียงจันทน์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงศาสนา ศึกษาเอกสารและเก็บข้อมูลภาคสนาม กลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มผู้รู้ ผู้ปฏิบัติ ผู้ให้ข้อมูลทั่วไป เครื่องมือคือแบบสำรวจ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต รวบรวมข้อมูลนำมาวิเคราะห์ นำเสนอโดย วิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1. หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในงานศิลปกรรม ในพุทธศาสนายุคแรกๆ ใช้สัญญะเช่นเครื่องหมายเสมาธรรมจักร กวางหมอบสื่อถึงธรรมจักกัปปวัตนสูตร ระยะหลังเป็นการสร้างสถูปเจดีย์ และพระพุทธรูป หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในงานศิลปกรรมพุทธศาสนาประกอบด้วย บุญกริยาวัตถุ ไตรลักษณ์ มรรค 8 ทศบารมี อริยสัจ 4 นิพพาน 2. งานศิลปกรรมในนครหลวงเวียงจันทน์ สปป. ลาว ศึกษา สถาปัตยกรรม พระธาตุหลวงและสิมวัดองค์ตื้อ ปฎิมากรรมคือพระพุทธรูปพระเจ้าใหญ่อินแปงที่สิมวัดอินแปง พระพุทธรูปที่หอพระพุทธรูปที่วัดพระแก้ว และ จิตรกรรมฝาผนังที่ผนังสิมวัดสีสะเกด 3. วิเคราะห์พุทธธรรมที่ปรากฏในงานศิลปกรรมในนครหลวงเวียงจันทน์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงศาสนา พบว่าหลักธรรมที่ปรากฎคือ บุญกิริยาวัตถุ ไตรลักษณ์ อริยสัจ อริยมรรค ทศบารมี นิพพาน การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงศาสนา คือการสนับสนุนและเผยแผ่หลักพุทธรรมที่ปรากฏในงานศิลปกรรมนครหลวงเวียงจันทน์ให้นักท่องเที่ยวได้ศึกษาและเข้าใจหลักธรรมอย่างแท้จริง และการท่องเที่ยวเชิงศาสนาเป็นการสร้างรายได้ให้แก่รัฐบาลและประชาชนลาวในแต่ละปีเป็นเงินจำนวนมาก 
     Keyword พระพุทธธรรม งานศิลปะ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงศาสนา 
Author
607080031-5 Phra THAVONE TAPHONEPASEUTH [Main Author]
Humanities and Social Sciences Doctoral Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
Level of Publication ชาติ 
citation true 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0