2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การพัฒนารูปแบบการสอนร้องเพลง เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็น ของนักเรียนในศตวรรษที่ 21  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 20 มีนาคม 2566 
การประชุม
     ชื่อการประชุม ศาสตร์พระราชาสู่นวัตกรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในยุคนิวนอร์มัล : โอกาสและความท้าทาย 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 
     สถานที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 
     จังหวัด/รัฐ บุรีรัมย์ 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 15 กุมภาพันธ์ 2566 
     ถึง 15 กุมภาพันธ์ 2566 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2566 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 1-12 
     Editors/edition/publisher ครั้งที่ 6 
     บทคัดย่อ บทความวิจัยฉบับนี้เป็นหนึ่งในวัตถุประสงค์ของการทำวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาเอก สาขา ดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษารูปแบบ การสอนร้องเพลงปฐมวัยในบริบทของสังคมไทย 2. เพื่อหาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของรูปแบบ การสอนร้องเพลง เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการสอนร้องเพลงปฐมวัยในบริบทของสังคมไทย ที่จำเป็นต่อการพัฒนาการสอนร้องเพลงระดับปฐมวัย คือ ทักษะ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 จำนวน 4 ทักษะ คือ 1) ทักษะการอ่าน 2) ทักษะคิดอย่างสร้างสรรค์ 3) ทักษะในการสื่อสาร 4) ทักษะในการทำงาน หรือทำกิจกรรมเป็นทีมมีภาวะผู้นำ มี 5 องค์ประกอบคือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 สาธิตร้องเพลง (Song and music Demonstration ) ขั้นตอนที่ 2 กิจกรรมร้องเพลง (Over Singing) ขั้นตอนที่ 3 การเคลื่อนไหวสร้างสรรค์แบบใหม่ (New Creative Movement) ขั้นตอนที่ 4 การประเมินตามเป้าหมาย (Goal Evaluation) 4) สื่อและแหล่ง การเรียนรู้ 5) การวัดและประเมินผล 2) ประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนร้องเพลง พบว่า อยู่ในระดับมาก ( = 4.46, S.D. = .43) ประสิทธิผลรูปแบบการสอนร้องเพลง สรุปเป็น 2 ข้อ ดังนี้ 1) ผลการเปรียบเทียบทักษะที่จำเป็นของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ก่อนและหลังที่นักเรียนได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนร้องเพลง มีค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะที่จำเป็นของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 สูงขึ้นกว่าก่อนการใช้รูปแบบการสอนร้องเพลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ความพึงพอใจ ต่อรูปแบบการสอนร้องเพลง พบว่า ครูมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอนร้องเพลงอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.51, S.D. = .46) 
ผู้เขียน
607220019-7 น.ส. นัตยา ทองคง [ผู้เขียนหลัก]
คณะศิลปกรรมศาสตร์ ปริญญาเอก โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0