2012 ©
             Publication
Journal Publication
Title of Article การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีการตรวจหาเชื้อพยาธิ Strongyloides stercoralis ระหว่างวิธีการเพาะเลี้ยงเชื้อในภาคสนามและการเพาะเลี้ยงเชื้อ ในห้องปฏิบัติการ 
Date of Acceptance 28 March 2023 
Journal
     Title of Journal วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Standard TCI 
     Institute of Journal กองบรรณาธิการวารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN 2651-1770 (Online)  
     Volume 16 
     Issue
     Month มกราคม - มีนาคม
     Year of Publication 2023 
     Page  
     Abstract บทคัดย่อ พยาธิสตรองจิลอยด์ดิส (Strongyloides stercoralis) เป็นพยาธิที่มีการระบาดทั่วโลก โดยเฉพาะในเขตร้อนชื้นรวมทั้งประเทศไทยโดยเฉพาะพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นพยาธิที่สามารถเจริญครบวงจรชีวิต ทั้งแบบวงจรชีวิตอิสระหรือแบบอาศัยโฮสต์ รวมทั้งสามารถติดเชื้อซ้ำในตัวโฮสต์เองโดยไม่ต้องผ่านวงจรชีวิตภายนอก สามารถติดต่อได้ง่ายโดยพยาธิไชเข้าสู่ผิวหนังของโฮสต์ มักมีรายงานการติดเชื้อพยาธิชนิดนี้ร่วมกันในผู้ป่วยโรคพยาธิปากขอ การตรวจวินิจฉัยพยาธิชนิดดังกล่าวนี้ให้มีความถูกต้องและแม่นยำสูงจึงเป็นสิ่งสำคัญ การศึกษาครั้งนี้ดำเนินการศึกษาในปี 2562 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีการตรวจหาเชื้อพยาธิ S. stercoralis ระหว่างวิธีการเพาะเลี้ยงเชื้อในภาคสนามและการเพาะเลี้ยงเชื้อในห้องปฏิบัติการ ในการศึกษาครั้งนี้ได้นำตัวอย่างอุจจาระของผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 103 คน มาตรวจโดยทั้งสองวิธีดังกล่าว และวิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติไคสแควร์ (Chi-Square Test) ซึ่งเป็นเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ จากผลการศึกษาครั้งนี้พบว่าวิธีเพาะเลี้ยงเชื้อในภาคสนาม (29.13%) มีประสิทธิภาพดีกว่าวิธีการเพาะเลี้ยงเชื้อในห้องปฏิบัติการ (17.43%) และจำนวนการเกิดของตัวอ่อนพยาธิสัมพันธ์กับจำนวนตัวอย่างอุจจาระที่ได้นำมาทดสอบอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.001) นำไปสู่การพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพของการตรวจวินิจฉัย นอกจากนั้นได้เปรียบเทียบกับวิธีการตรวจอุจจาระด้วยวิธีเข้มข้น (formalin-ethyl acetate concentration: FECT) และการตรวจวินิจฉัยโดยการใช้ตัวตรวจจับจำเพาะที่สามารถตรวจหาสาร คัดหลั่งของพยาธิในปัสสาวะโดยวิธีอีไลซ่า (urine enzyme-linked immunosorbent assays: urine-ELISA) เพื่อประเมินประสิทธิภาพในการหาค่าความแม่นยำของเครื่องมือและหาค่าความชุกของเทคนิคต่าง ๆ จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า ความไว (sensitivity) ของเครื่องมือในการตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีอีไลซ่าสูงสุด (100%, 95%CI: 100) และวิธีการตรวจอุจจาระด้วยวิธีเข้มข้นต่ำสุด (26.67%, 95%CI: 18.13-35.21) เมื่อเทียบกับวิธีการตรวจมาตรฐาน (43.33%, 95%CI: 33.76-52.90)  
     Keyword พยาธิสตรองจิลอยด์ดิส, วิธีการเพาะเลี้ยงเชื้อ การตรวจอุจจาระด้วยวิธีเข้มข้น, วิธีอีไลซ่า 
Author
615070002-5 Miss WANSIRI WIRAPHONGTHONGCHAI [Main Author]
Medicine Master's Degree

Reviewing Status มีผู้ประเมินอิสระ 
Status ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
Level of Publication ชาติ 
citation false 
Part of thesis true 
Attach file
Citation 0