2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การตรวจสอบความตรงของโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ในรายวิชาภาษาไทย สำหรับนักรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 28 มีนาคม 2566 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 46 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-มีนาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2566 
     หน้า 76-91 
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความตรงของโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ในรายวิชาภาษาไทย สำหรับนักรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 รูปแบบการวิจัย คือ การวิจัยโมเดลระยะที่ 2 การตรวจสอบความตรงของโมเดล ประกอบด้วยความตรงภายใน และ ความตรงภายนอกโมเดล กลุ่มเป้าหมายที่ใช้สำหรับการตรวจสอบความตรงภายใน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน เพื่อยืนยันองค์ประกอบของโมเดล ด้านเนื้อหา ด้านสื่อ และด้านการออกแบบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้สำหรับตรวจสอบความตรงภายนอกโมเดล ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนอนุบาลพรเจริญ ที่เรียนในรายวิชาภาษาไทย ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 24 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน วิเคราะห์โปรโตคอล สรุปตีความและบรรยายเชิงวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความตรงภายในทั้ง 3 ด้าน มีความสอดคล้องกับหลักการทฤษฎีและกรอบแนวคิดการออกแบบที่นำมาเป็นพื้นฐานในการพัฒนาโมเดล 2) ความตรงภายนอก พบว่าผลกระทบของผู้เรียนที่เรียนด้วยโมเดลสิ่งแวดล้อม คือ (1) การอ่านอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียน โดยการวิเคราะห์โปรโตคอล พบว่า ผู้เรียนมีการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียน 8 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การถอดรหัสข้อความ ขั้นที่ 2 การอ่านผ่านๆอย่างรวดเร็ว ขั้นที่ 3 การกระตุ้นและเชื่อมโยงความรู้เดิม ขั้นที่ 4 การตั้งคำถาม ขั้นที่ 5 การอนุมาน ขั้นที่ 6การจัดลำดับความสำคัญ ขั้นที่ 7 การสรุปความเข้าใจ และ ขั้นที่ 8 การสังเคราะห์ความรู้ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างการอ่านอย่างมีวิจารณญาณกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน โดยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยการหาค่าสหสัมพันธ์ (correlation analysis) ด้วยวิธี Pearson correlation พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) มีค่าเท่ากับ 0.818 หมายถึงมีความสัมพันธ์กันในระดับสูง 3) ความคิดเห็นของผู้เรียน พบว่า โมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ฯ มีความเหมาะสมในด้านเนื้อหา ด้านสื่อ และด้านการออกแบบ  
     คำสำคัญ โมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ คอนสตรัคติวิสต์ การตรวจสอบความตรงโมเดล 
ผู้เขียน
607050016-9 นาย กฤษณ์ บัวโฮม [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาเอก โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum