ชื่อบทความ |
การประยุกต์ใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ระดับมหภาคเพื่อคาดการณ์และประเมินอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนในประเทศไทย |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
3 เมษายน 2566 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารวิศวกรรมศาสตร์และนวัตกรรม |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
ISBN/ISSN |
ISSN : 2774-1281 |
ปีที่ |
17 |
ฉบับที่ |
1 |
เดือน |
มกราคม - มีนาคม 2567 |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2566 |
หน้า |
|
บทคัดย่อ |
งานวิจัยนี้ได้ประยุกต์ใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ระดับมหภาค 2 แบบจำลอง ได้แก่ แบบจำลอง Smeed และ Koren & Borsos เพื่อ
คาดการณ์อัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนต่อประชากรแสนคนและประเมินผลการดำเนินการมาตรการด้านความปลอดภัยทางถนน
ต่าง ๆ ในภาพรวมของประเทศไทยเทียบกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ในขณะที่แบบจำลองของ Smeed พบว่าอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้อง
ถนนต่อจำนวนยานพาหนะแสนคันจะมีค่าลดลงเมื่อค่าอัตราการครอบครองยานพาหนะมีค่าเพิ่มมากขึ้น และแบบจำลองของ Koren &
Borsos ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนต่อจำนวนประชากรแสนคนกับอัตราการครอบครอง
ยานพาหนะในลักษณะเป็นเส้นโค้งรูปร่างตัวยูกลับหัว จากผลการวิจัยโดยใช้แบบจำลองทั้ง 2 พบว่าอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน
ต่อจำนวนประชากรแสนคนของประเทศไทยมีแนวโน้มลดลงตามอัตราการครอบครองยานพาหนะที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบบจำลอง
Koren & Borsos ได้พบว่าในสถานการณ์ปัจจุบัน ประเทศไทยได้ผ่านพ้นจุดวกกลับ (Turning point) มาแล้ว แต่ยังคงไม่สามารถทำให้
ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้สำหรับการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนต่อจำนวนประชากร
แสนคนกับอัตราการครอบครองยานพาหนะในระดับจังหวัดของประเทศไทยพบว่าความสัมพันธ์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นเส้นโค้งรูปร่างตัวยูกลับ
หัว โดยมีความน่าเชื่อถือของแบบจำลองค่อนข้างต่ำ นอกเหนือจากนั้น ผลจากการวิจัยพบว่าแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของอัตราการเสียชีวิต
จากอุบัติเหตุบนท้องถนนต่อจำนวนประชากรแสนคนของแต่ละจังหวัดตามเวลา (ปี) มีค่าที่แตกต่างกันอย่างมาก จึงอาจส่งผลทำให้เกิดปัญหา
และอุปสรรคในการกำหนดเป้าหมายของแต่ละจังหวัดเพื่อให้สอดคล้องและนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายด้านความปลอดภัยทางถนนของประเทศ
ไทยในอนาคต |
คำสำคัญ |
การคาดการณ์อัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ระดับมหภาค ความปลอดภัยทางถนน |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|