2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การศึกษาองค์ประกอบของการท่องเที่ยวเชิงเกษตรชุมชนในรูปแบบเสมือนจริง กรณีศึกษา อำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู A Composition Study of Virtual Community Based Agrotourism: A Case Study of Na Wang District, Nongbualamphu Province 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 22 มีนาคม 2566 
การประชุม
     ชื่อการประชุม งานประชุมวิชาการระดับชาติ ราชภัฏเลยวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ครั้งที่ 9 ประจำปี 2566 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย 
     สถานที่จัดประชุม รูปแบบ Teleconference ผ่านระบบ Zoom Meeting และ Google Meet 
     จังหวัด/รัฐ เลย 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 22 มีนาคม 2566 
     ถึง 22 มีนาคม 2566 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2566 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 403-416 
     Editors/edition/publisher สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย  
     บทคัดย่อ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาบริบทการท่องเที่ยวเชิงเกษตรชุมชนของอำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู 2) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของการท่องเที่ยวเชิงเกษตรชุมชนในรูปแบบเสมือนจริงของอำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยว จำนวน 11 คน ตัวแทนหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยว จำนวน 7 คน ตัวแทนชุมชนและผู้ประกอบการด้านการเกษตรในพื้นที่อำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 20 คน และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีกลุ่มตัวอย่างคือ นักท่องเที่ยวชาวไทยจำนวน 400 คน เครื่องมือรวบรวมข้อมูลคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) แบบสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) แบบประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) และการใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) โดยข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์จากแบบสอบถามนักท่องเที่ยวโดยการหาค่าสถิติร้อยละ (Percentage) การหาค่าเฉลี่ย (Mean) และการหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: SD) ผลการศึกษาวิจัย พบว่า 1) บริบทการท่องเที่ยวเชิงเกษตรชุมชนในอำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภูนั้น มีจุดเด่นที่สามารถพัฒนาและยกระดับการท่องเที่ยวได้เนื่องจากอำเภอนาวังมีทรัพยากรทางการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่อุดมสมบูรณ์ และสามารถสร้างผลผลิตได้ทุกฤดูกาล ขึ้นชื่อเรื่องเป็นเมือง “อารยเกษตร และอาหารปลอดภัย” และทั้งยังเป็นพื้นที่ส่งออกผลผลิตทางการเกษตร ขนาดใหญ่ มีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลาย และเป็นพื้นที่ที่มีวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตที่มีอัตลักษณ์มายาวนาน และเสน่ห์ที่โดดเด่นของชาวอำเภอนาวังนี้คือมนุษยสัมพันธ์และการบริการที่เป็นมิตรพร้อมเรียนรู้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และยังมีกิจกรรมทางการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่เป็นอัตลักษณ์ ทั้งนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ OTOP ที่มีความโดดเด่นและไม่เหมือนใครในแต่ละตำบลอีกด้วย 2) พบว่าองค์ประกอบของการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ควรมีในสื่อรูปแบบเสมือนจริง (Virtual Media) เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างสมจริง และชุมชนสามารถนำไปปรับใช้ให้ประสบความสำเร็จได้ ซึ่งภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.16, S.D. = 0.72) ควรประกอบไปด้วยองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้ (1) ด้านทรัพยากรการท่องเที่ยว (Tourism Resources) ( =4.28) (2) ด้านการจัดการพื้นที่ (Zoning Management) ( =4.30) (3) ด้านการบริการ (Service) ( =3.80) (4) ด้านกิจกรรม การเรียนรู้ และนันทนาการ (Activities, Learning and Entertainment) ( =4.10) (5) ด้านกลุ่มบุคคล (Group of People) ( =4.24) และ (6) ด้านผลิตภัณฑ์ (Products) ( =4.26)  
ผู้เขียน
635210054-0 น.ส. ศิวัชญา บัวสาย [ผู้เขียนหลัก]
คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0