2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ กรอบแนวคิดวัฒนธรรมพอเพียงของสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 28 เมษายน 2566 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมสัมมนาทางวิชาการ การนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ/นานาชาติและงานบริหารการศึกษาสัมพันธ์ ครั้งที่ 46 ประจำปี 2566 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.) ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเครือข่ายบริหารการศึกษา  
     สถานที่จัดประชุม หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
     จังหวัด/รัฐ กรุงเทพมหานคร 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 28 เมษายน 2566 
     ถึง 28 เมษายน 2566 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 46 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 772-785 
     Editors/edition/publisher สมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย (สพบท.) 
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและประเมินกรอบแนวคิดของวัฒนธรรมพอเพียงของสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น เป็นการวิจัยแบบบรรยาย (Descriptive research) ดำเนินการ 2 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับองค์ประกอบวัฒนธรรมพอเพียงของสถานศึกษา จำนวน 11 แหล่ง เพื่อสังเคราะห์กรอบแนวคิดของวัฒนธรรมพอเพียงของสถานศึกษาที่ประกอบด้วยองค์ประกอบและตัวบ่งชี้จากแนวคิดและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และ2) ประเมินกรอบแนวคิดวัฒนธรรมพอเพียงของสถานศึกษา ตามกรอบที่ได้สังเคราะห์จากเอกสารโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมิน เป็นแบบตรวจสอบรายการและแบบปลายเปิดเพื่อเสนอแนะ โดยวิเคราะห์หาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence: IOC) ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดของวัฒนธรรมพอเพียงของสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ มี 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ (1) แบบแผนความยั่งยืน มี 3 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย การจัดสรรงบประมาณให้คุ้มค่า, การพัฒนาสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ และการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน (2) ค่านิยมความพอเพียง มี 2 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย การมุ่งเน้นความมีเหตุผล และตระหนักในความพอประมาณ (3) กรอบความคิดพอประมาณ มี 2 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย การเดินทางสายกลาง และความไม่ประมาททางความคิดและ(4) กระบวนการที่มีประสิทธิภาพ มี 3 ตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย การใช้ความรู้ ความชำนาญ, การวัดประสิทธิภาพทางเวลา และความคล่องตัวในการทำงาน และ 2) ผลการประเมินกรอบแนวคิดของวัฒนธรรมพอเพียงของสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ดัชนีมีค่าความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.80 – 1.00 ซึ่งผ่านเกณฑ์ทุกองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ 
ผู้เขียน
645050074-5 น.ส. เพชรสุดา ศรีปลัดกอง [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0