Research Title |
การคิดเชิงคำนวณผ่านการเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์ |
Date of Distribution |
4 February 2023 |
Conference |
Title of the Conference |
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านคณิตศาสตรศึกษา ครั้งที่ 9 |
Organiser |
สมาคมคณิตศาสตรศึกษา |
Conference Place |
มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ |
Province/State |
ศรีสะเกษ |
Conference Date |
4 February 2023 |
To |
5 February 2023 |
Proceeding Paper |
Volume |
9 |
Issue |
1 |
Page |
26 |
Editors/edition/publisher |
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์/สมาคมคณิตศาสตรศึกษา |
Abstract |
การคิดเชิงคำนวณเป็น “กระบวนการทางความคิด” ที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดปัญหาและแสดงวิธีการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ (Wing, 2006, 2019), (ISTE & CSTA, 2011) ซึ่งเป็นการบูรณาการกันของสมองส่วนตรรกะและศิลปะ (บัณฑิต ทิพากร, 2563) กระบวนการนี้แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการเขียนโปรแกรม (programming) และทักษะการคิด (thinking skills) (Papert, 1980) ซึ่งเป็นสมรรถนะที่สำคัญ ในเศรษฐกิจโลกปัจจุบัน (Barr and Stephenson, 2011) การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการคิดเชิงคำนวณผ่านการเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์ กลุ่มเป้าหมายคือนักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 11 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วย 5 คำสั่ง มีกระบวนออกแบบเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กรอบสมรรถนะการเขียนโปรแกรม (Competency for Programming) (Isoda & Roberto, 2018) บูรณาการร่วมกับวิธีการแบบเปิด ร่วมกันกับทีมการศึกษาชั้นเรียน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า จากใบกิจกรรมและผลงานของผู้เรียน แบบบันทึกภาคสนามและแบบบันทึกการสะท้อนผล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้กรอบการคิดเชิงคำนวณ บัณฑิต ทิพากร (2563)
ผลการวิจัยพบว่า การคิดเชิงคำนวณที่สะท้อนผ่านกิจกรรมการเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์โดยใช้วิธีการแบบเปิด มีลักษณะดังนี้ 1. การแยกปัญหาใหญ่เป็นปัญหาย่อย (decomposition) ผู้เรียนใช้จินตนาการในการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาที่มีความซับซ้อนให้สามารถแก้ปัญหาได้ง่ายขึ้น โดยมีเงื่อนไขประกอบด้วย องค์ประกอบและความสามารถของหุ่นยนต์ 2. การกำหนดความเป็นนามธรรม (abstraction) ผู้เรียนใช้เงื่อนไขจากข้อที่ 1 มากำหนดขอบเขตและออกแบบสิ่งที่ต้องการสร้างโดยใช้บล็อกและบล็อกคำสั่งอย่างเป็นขั้นตอน 3. การออกแบบกระบวนการ (algorithm design) ผู้เรียนใช้เงื่อนไขจากข้อที่ 1 มากำหนดขอบเขตปัญหา ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่สำคัญในการต่อบล็อกและบล็อกคำสั่งหุ่นยนต์ให้เชื่อมโยงกัน อย่างเป็นขั้นตอน ซึ่งปรากฏการทดลอง ค้นหาเพื่อปรับแก้ (debug) เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของหุ่นยนต์ 4. การค้นหาแบบรูป (pattern) ผู้เรียนใช้ประสบการณ์จริงของตน ค้นหาการทำงานของหุ่นยนต์ ผ่านการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา เพื่อระบุองค์ประกอบและความสามารถของหุ่นยนต์ เพื่อคัดเลือกบล็อกสำหรับการต่อหุ่นยนต์ผ่านการปรับแก้ (debug) บล็อกชิ้นส่วน บล็อกคำสั่งและลำดับของบล็อกคำสั่งจนค้นพบแบบรูป (pattern) ของตำแหน่งการพัฒนาหรือต่อยอดแนวคิดจากเดิม ให้มีความสัมพันธ์กับเป้าหมายและความสามารถของหุ่นยนต์ตามที่ออกแบบไว้
คำสำคัญ การคิดเชิงคำนวณ การเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์ วิธีการแบบเปิด
|
Author |
|
Peer Review Status |
มีผู้ประเมินอิสระ |
Level of Conference |
ชาติ |
Type of Proceeding |
Full paper |
Type of Presentation |
Oral |
Part of thesis |
true |
Presentation awarding |
false |
Attach file |
|
Citation |
0
|
|