2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ พื้นที่ทางวัฒนธรรมในเรือนพักอาศัยของชาวไทดำ บริบทชุมชนบ้านนาป่าหนาด จังหวัดเลย 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 18 พฤษภาคม 2566 
วารสาร
     ชื่อวารสาร หน้าจั่ว ว่าด้วยประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมไทย  
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร ภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ ปีที่ 20  
     ฉบับที่ ฉบับ 1 (มกราคม 2566-มิถุนายน 2566) 
     เดือน มกราคม 2566-มิถุนายน 2566
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2566 
     หน้า  
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ ไทดําบ้านนาป่าหนาดเป็นกลุ่มชาติพันธ์ุที่มีบรรพบุรุษอาศัยอยู่บริเวณเมืองพวนและพื้นที่สิบสองจุไท ด้วยเหตุผลการเมืองและความไม่มั่งคงในพื้นที่ทําให้ถูกกวาดต้อนเข้าสู่ประเทศไทยในช่วงสงครามปราบฮ่อ จากการเปลี่ยนแปลงบริบทถิ่นที่อยู่ในภูมิศาสตร์ราบหุบเข้าสู่ที่ราบสูงในภาคอีสานประเทศไทย ไทดำบ้านนาป่าหนาดจึงเป็นชุมชนไทดำแห่งเดียวที่ต้องปรับการอยู่อาศัยให้เข้ากับภูมิศาสตร์และบริบททางวัฒนธรรมอีสาน ซึ่งส่งผลโดยตรงกับการจัดการพื้นที่ทางวัฒนธรรมในระดับต่างๆ ที่มีมาแต่เดิม ผ่านช่วงเวลา 100 ปี บทความวิจัยนี้ศึกษาพื้นที่ทางวัฒนธรรมในเรือนพักอาศัยของกลุ่มไทดําภายใต้การเปลี่ยนแปลงภูมิศาสตร์การตั้งถิ่นฐาน สถาปัตยกรรมเรือนพักอาศัยและการจัดการลักษณะทางภายภาพผังชุมชน การศึกษาใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยวิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยเรือนกรณีศึกษาที่ก่อสร้างในช่วงเวลาต่างกันจํานวน 13 หลัง เป็นตัวแทนของเรือนพักอาศัยของคนไทดําบ้านนาป่าหนาด วิธีการวิจัยใช้การสํารวจภาคสนาม ถ่ายภาพและการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อวิเคราะห์รูปแบบพื้นที่ทางวัฒนธรรมซึ่งเป็นตัวควบคุมพฤติกรรมและความหมายของพื้นที่ภายในเรือน ผลการศึกษาพบว่าการเปลี่ยนแปลงผังชุมชนจากการตัดถนนแบบตารางและการแบ่งแปลงที่ดินมีผลโดยตรงกับการวางตัวเรือนในชุมชนในภาพรวม ลักษณะเรือนพักอาศัยมีการรับเอาเรือนอีสานและแบบร่วมสมัยเข้ามาใช้ พื้นที่การใช้งานปรับตามกิจกรรมของเจ้าของเรือน ปัจจัยข้างต้นมีผลต่อกายภาพภายนอกของเรือนและชุมชน ซึ่งส่งผลต่อพื้นที่ทางวัฒนธรรมภายในเรือนเพียงบางส่วน โดยพบว่าพื้นที่ทางวัฒนธรรมในเรือนพักอาศัยของชาวไทดำบ้านนาป่าหนาดยังมีศูนย์กลางที่ตําแหน่งกะล้อฮ่อง คงความหมายเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์และเป็นแกนหลักของพื้นที่ภายในเรือนกรณีศึกษาทุกหลัง เรือนส่วนใหญ่มีเสาผีเป็นตัวกำหนดทิศหัวนอนที่สัมพันธ์กับทิศภูเขาสําคัญของบริบทการตั้งถิ่นฐานชุมชน แนวคิดพื้นที่ยังมีความสอดคล้องกับอุดมการณ์การจัดการพื้นที่ทางวัฒนธรรมไทดําที่มีมาแต่เดิมสามารถปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับเรือนรูปแบบสองชั้นได้มากกว่าเรือนชั้นเดียว กะล้อฮ่องจึงยังเป็นตําแหน่งพื้นที่ทางความคิดชาวไทดำที่เชื่อมโยงตัวตนเจ้าของเรือนกับโครงข่ายกลุ่มคนในวัฒนธรรมไทดำและบริบทสภาพแวดล้อมภูมิศาสตร์ภายนอกตัวเรือนภายในชุมชนบ้านนาป่าหนาดถึงแม้ว่าจะมีการย้ายถิ่นฐานจากพื้นที่เดิม 
     คำสำคัญ บ้านนาป่าหนาด, พื้นที่ทางวัฒนธรรม, พัฒนาการรูปแบบเรือน, พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์, เรือนพื้นถิ่นไทดำ 
ผู้เขียน
607200001-8 นาย ตุลชัย บ่อทรัพย์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ปริญญาเอก ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0