2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการรู้ดิจิทัลสำหรับนักศึกษาระดับอุมศึกษา 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 22 พฤษภาคม 2566 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร กองบรรณาธิการ วารสารศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น https://www.tci-thaijo.org/index.php/edkkuj  
     ISBN/ISSN ISSN: 0857-1511, E-ISSN: 2673-0847 รหัสบทความ 260804 
     ปีที่ 46 
     ฉบับที่
     เดือน เมษายน - มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2566 
     หน้า  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการรู้ดิจิทัลสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษา รูปแบบการวิจัยเชิงพัฒนา (Developmental research) แบบ Type I ซึ่งประกอบด้วย 3 ระยะ คือ 1) การพัฒนาโมเดล 2) การตรวจสอบความตรงของของโมเดล และ 3) การใช้โมเดล กลุ่มเป้าหมาย ระยะที่ 1 ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคุณภาพของโมเดล ระยะที่ 2 ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคุณภาพของโมเดล และนักศึกษาระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2564 จำนวน 30 คน ระยะที่ 3 ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคุณภาพของโมเดล และนักศึกษาปริญญาตรี ปีการศึกษา 2565 จำนวน 30 คน โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) การออกแบบและพัฒนาโมเดลฯ มี 7 องค์ประกอบ คือ (1) สถานการณ์ปัญหา (2) ศูนย์ส่งเสริมการรู้ดิจิทัล (3) แหล่งเรียนรู้ (4) ศูนย์เครื่องมือทางปัญญา (5) ชุมชนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (6) ฐานการช่วยเหลือ (7) การโค้ช 2) การรู้ดิจิทัลของผู้เรียนอยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 84.86 ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ผู้เรียนมีทักษะการรู้ดิจิทัล ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1) การใช้ 2) การเข้าใจ และ 3) การสร้าง 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า ผู้เรียนร้อยละ 86.67 ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ได้แคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 84.13 ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด 4) ความสัมพันธ์ระหว่างการรู้ดิจิทัลกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่าค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) มีค่าเท่ากับ 0.765 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่ามีความสัมพันธ์เชิงบวกและมีความสัมพันธ์มาก 5) ความคิดเห็นของผู้เรียน พบว่า ด้านเนื้อหา ด้านสื่อ และด้านการออกแบบ มีความเหมาะสม ช่วยสนับสนุนส่งเสริมการรู้ดิจิทัล 
     คำสำคัญ การรู้ดิจิทัล การพัฒนาโมเดลสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ คอนสตรัคติวิสก์ 
ผู้เขียน
607050018-5 นาง จีรกาญจน์ เต็มพรสิน [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาเอก โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum