ชื่อบทความ |
วัสดุประกอบ Fe3O4 ร่วมถ่านกัมมันต์สำหรับขั้วเคาน์เตอร์อิเล็กโทรดที่ปราศจากแพลทินัมสำหรับเซลล์แสงอาทิตย์แบบสีย้อมไวแสง |
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ |
13 มิถุนายน 2566 |
วารสาร |
ชื่อวารสาร |
วารสารวิจัย มข. ฉบับบัณฑิตศึกษา |
มาตรฐานของวารสาร |
TCI |
หน่วยงานเจ้าของวารสาร |
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ISBN/ISSN |
ISSN 2672-9636 |
ปีที่ |
24 |
ฉบับที่ |
2 |
เดือน |
เมษายน-มิถุนายน |
ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ |
2566 |
หน้า |
|
บทคัดย่อ |
พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานทดแทนทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เซลล์แสงอาทิตย์แบบสีย้อมไวแสงได้รับความสนใจเนื่องจากมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดซิลิคอน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพเซลล์แสงอาทิตย์แบบสีย้อมไวแสงที่ใช้วัสดุประกอบถ่านกัมมันต์ร่วมกับแมกนีไทต์เป็นขั้วเคาน์เตอร์อิเล็กโทรด โดยได้ทำการสังเคราะห์แมกนีไทต์ด้วยวิธีตกตะกอนร่วมความร้อน จากนั้นจะถูกนำมาผสมกับถ่านกัมมันต์ในสัดส่วนโดยน้ำหนักที่หนึ่งต่อหนึ่ง วัสดุที่เตรียมได้จะถูกตรวจสอบคุณลักษณะต่างๆด้วยเครื่อง XRD, SEM/EDX, BET, FTIR, UV-VIS พบว่า แมกนีไทต์ที่สังเคราะห์ได้นี้มีความสามารถในการดูดกลืนแสงทั้งได้ในช่วงอัลตร้าไวโอเลตและช่วงแสงที่ตามองเห็น มีค่าแถบช่องว่างของพลังงานเท่ากับ 2.23 eV การใช้วัสดุประกอบถ่านกัมมันต์ร่วมกับแมกนีไทต์เป็นขั้วเคาน์เตอร์อิเล็กโทรดให้ค่าประสิทธิภาพเซลล์เท่ากับ 2.32% ซึ่งมากกว่าการใช้แพลทินัมที่ให้ค่า 2.20% วัสดุประกอบถ่านกัมมันต์ร่วมกับแมกนีไทต์จึงเป็นวัสดุทางเลือกวัสดุทดแทนการใช้แพลทินัม เนื่องจากมีราคาถูก สังเคราะห์ได้ง่าย โดยสามารถนำไปพัฒนาต่อในการปรับเปลี่ยนสัดส่วนของแมกนีไทต์ต่อถ่านกัมมันต์ให้มีประสิทธิภาพเซลล์แสงอาทิตย์แบบสีย้อมไวแสงดีขึ้นได้ |
คำสำคัญ |
เซลล์แสงอาทิตย์แบบสีย้อมไวแสง วัสดุประกอบถ่านกัมมันต์แมกนีไทต์ ขั้วเคาน์เตอร์อิเล็กโทรด |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ |
มีผู้ประเมินอิสระ |
สถานภาพการเผยแพร่ |
ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ |
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
citation |
ไม่มี |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|