ชื่อบทความที่เผยแพร่ |
ผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5Es ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ด้วยห้องเรียนจักรวาลนฤมิต (Metaverse) ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงวิเคราะห์ เรื่อง อาหารหลัก 5 หมู่ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายนานาชาติ |
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ |
10 มิถุนายน 2566 |
การประชุม |
ชื่อการประชุม |
การประชุมนำเสนองานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 19 ปี 2566 (ICE 2023) หัวข้อ "Education and Learning Innovation for The Post-Pandemic Era and The Future" |
หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม |
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ www.ice.educ.su.ac.th |
สถานที่จัดประชุม |
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ |
จังหวัด/รัฐ |
นครปฐม |
ช่วงวันที่จัดประชุม |
17 มิถุนายน 2566 |
ถึง |
17 มิถุนายน 2566 |
Proceeding Paper |
Volume (ปีที่) |
10 |
Issue (เล่มที่) |
ISBN (E-Book) 978-974-641-842-3 |
หน้าที่พิมพ์ |
83-98 |
Editors/edition/publisher |
19 |
บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดเชิงวิเคราะห์ และความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายนานาชาติที่เรียนด้วยรูปแบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5Es ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ด้วยห้องเรียนจักรวาลนฤมิต (Metaverse) เรื่อง อาหารหลัก 5 หมู่ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายนานาชาติ จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องอาหารหลัก 5 หมู่ จำนวน 5 แผน ห้องเรียนจักรวาลนฤมิต (Metaverse) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดการคิดเชิงวิเคราะห์ แบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกแต่งระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยสถิติ The Wilcoxon Signed-Ranks Test ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายนานาชาติ ที่ได้รับการจัดการเรียน ด้วยรูปแบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5Es ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ด้วยห้องเรียนเสมือนจริง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. การคิดเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด สรุปผลการวิจัย การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5Es ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ด้วยห้องเรียนเสมือนจริง (Metaverse) สามารถช่วยพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดเชิงวิเคราะห์ และความพึงพอใจของนักเรียนในการจัดการเรียนรู้ ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ลงมือกระทำด้วยตนเองในการแก้ไขปัญหาจากสถานการณ์ปัญหา ผู้เรียนได้ฝึกฝนการเรียนรู้โดยใช้ความสามารถด้านการคิดหาเหตุผล นอกจากนั้นห้องเรียนจักรวาลนฤมิต ช่วยสร้างสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ให้น่าสนใจ กระตุ้นการเรียนรู้ ทำให้รู้สึกสนุกสนานจากกิจกรรมที่มีความท้าทาย และช่วยเพิ่มแรงจูงใจในการเรียนรู้
คำสำคัญ : กระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5Es/ ห้องเรียนจักรวาลนฤมิต/ การคิดเชิงวิเคราะห์
|
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ (Peer Review) |
มีผู้ประเมินอิสระ |
มีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
รูปแบบ Proceeding |
Full paper |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา |
ไม่เป็น |
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล |
ไม่ได้รับรางวัล |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|