2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ กลยุทธ์การตลาดการท่องเที่ยวรูปแบบรถอาหารเคลื่อนที่ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารอย่างสร้างสรรค์ในบริบทเขตเมืองขอนแก่น 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 20 มิถุนายน 2566 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 7 The 7th UTCC National Conference มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ครบรอบ 60 ปี ภายใต้หัวข้อ "การพัฒนาประเทศด้วย BCG โมเดล เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน" 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 
     สถานที่จัดประชุม รูปแบบ E-Conference ผ่านโปรแกรม Cisco WebEx 
     จังหวัด/รัฐ กรุงเทพมหานคร 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 6 มิถุนายน 2566 
     ถึง 6 มิถุนายน 2566 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 373-386 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาใช้บริการรถอาหารเคลื่อนทีในบริบทเขตเมืองขอนแก่น 2) เสนอแนวทางกลยุทธ์การตลาดการท่องเที่ยวรูปแบบรถอาหารเคลื่อนที่เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารอย่างสร้างสรรค์ในบริบทเขตเมืองขอนแก่น เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน คือ การวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และการประชุมกลุ่มย่อย และการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลแบบจำลองเชิงโครงสร้าง (Structural Equation Model : SEM) ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการเลือกซื้ออาหารจากรถอาหารเคลื่อนที่ของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาใช้บริการรถอาหารเคลื่อนที่ คือ เครื่องดื่ม มีวัตถุประสงค์ในการใช้บริการเพื่อซื้ออาหารหรือเครื่องดื่มเพื่อบรรเทาความหิว ผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจใช้บริการคือ ตนเอง สถานที่ที่ใช้บริการ ได้แก่ ตลาดนัด โดยมีแหล่งข้อมูลในการใช้บริการรถอาหารเคลื่อนที่มาจากสื่อโซเชียลมีเดีย และกลยุทธ์การตลาดการท่องเที่ยวรูปแบบรถอาหารเคลื่อนที่ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารอย่างสร้างสรรค์ในบริบทเขตเมืองขอนแก่นให้ประสบความสำเร็จจะต้องมีกลยุทธ์ FOOD TRUCK ได้แก่ 1) F - First Impression การสร้างความประทับใจในครั้งแรกที่ใช้บริการรถอาหารเคลื่อนที่ 2) O - Opportunity โอกาสในการต่อยอดสินค้าและบริการรถอาหารเคลื่อนที่ 3) O - On Target รถอาหารเคลื่อนที่ตอบโจทย์และตรงตามเป้าหมายของผู้บริโภคในปัจจุบัน 4) D – Delivery การส่งมอบอาหารของรถอาหารเคลื่อนที่ให้แก่ผู้บริโภค 5) T - Trip, Tour, Travel การออกเดินทางท่องเที่ยวของรถอาหารเคลื่อนที่และนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการ 6) R - Recipe สูตรอาหารลับเฉพาะของรถอาหารเคลื่อนที่ 7) U - Unique การมีเอกลักษณ์เฉพาะเป็นที่น่าจดจำ 8) C - Chanel ช่องทางการติดต่อสื่อสารในการเข้าถึงรถอาหารเคลื่อนที่ 9) K - Knowledge ความรู้ความสามารถในการนำเสนอสินค้าและบริการของรถอาหารเคลื่อนที่ 
ผู้เขียน
625210023-0 น.ส. พิมลกานต์ ศรีโคตรฤทธิ์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0