2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ความหมายที่เปลี่ยนแปลงของพระธาตุพนมในบริบทประวัติศาสตร์ ไทย-ลาว 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 25 พฤษภาคม 2566 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี  
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 
     ISBN/ISSN 2228-8244 
     ปีที่ 14 
     ฉบับที่
     เดือน มกราคม-มิถุนายน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2566 
     หน้า 34-65 
     บทคัดย่อ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายที่เปลี่ยนแปลงของพระธาตุพนมในบริบทประวัติศาสตร์ไทย-ลาว พ.ศ. 2369-2553 ข้อมูลที่ปรากฏในบทความนี้ได้จากการวิจัยเอกสาร ผลการศึกษาชี้ว่า พระธาตุพนมซึ่งตั้งอยู่บริเวณชายแดนไทย-ลาวสะท้อนถึงความหมายที่เปลี่ยนแปลงไปแต่ละยุค ได้แก่ 1) ยุคศึกเจ้าอนุวงศ์ พระธาตุพนมกลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองและสงคราม โดยอาณาจักรลาวได้นำพระธาตุพนมไปใช้ในมิติของอำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่มีความสำคัญต่อทิศทางการเมืองในราชสำนัก ส่วนรัฐสยามได้ใช้พระธาตุพนมในฐานะของสัญลักษณ์ในแผนที่เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ในการทำสงครามและเป็นสัญลักษณ์ในการตั้งรับกับการแย่งชิงพื้นที่จากจักรวรรดินิยมตะวันตก 2) ยุคสงครามอินโดจีน พระธาตุพนมถูกนำไปเชื่อมโยงกับความหมายทางการเมือง ได้แก่ การพยายามล้มล้างความศรัทธาของผู้คนในฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงที่มีต่อพระธาตุพนมของรัฐบาลอาณานิคมฝรั่งเศส ในขณะที่รัฐไทยได้เชื่อมโยงความหมายพระธาตุพนมกับการสร้างความเป็นพลเมืองของรัฐไทย 3) ยุคสงครามเย็น พระธาตุพนมได้กลายเป็น ตราสัญลักษณ์ของสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย นอกจากนี้ ยังมีการให้ความหมายใหม่กับพระธาตุพนมจากความรู้ด้านโบราณคดีของกรมศิลปากร และการผลิตซ้ำวาทกรรมที่เกี่ยวกับตำนานอุรังคธาตุ 4) ยุคพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง พระธาตุพนมได้ถูกทำให้กลายเป็นสินค้า มีการผลิตสินค้าที่เชื่อมโยงกับพระธาตุพนมเป็นจำนวนมากและมีการขายสินค้าในพื้นที่พระธาตุพนมสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน และ 5) ยุคผลักดันพระธาตุพนมให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เพื่อให้กลายเป็นพื้นที่สากล พระธาตุพนมได้ถูกนำไปเชื่อมโยงกับความหมายใหม่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมิติการเมืองและเศรษฐกิจ กระนั้น พระธาตุพนมยังคงความหมายของการเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์และเป็นศูนย์รวมทางจิตวิญญาณของผู้คนมาจนถึงปัจจุบัน  
     คำสำคัญ พระธาตุพนม, พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์, พื้นที่ทางสังคม, การต่อรองความหมาย, ความสัมพันธ์ไทย-ลาว 
ผู้เขียน
625080005-4 นาย อรัญ จำนงอุดม [ผู้เขียนหลัก]
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ ไม่มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ตีพิมพ์แล้ว 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0

<
forum