2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title The change of meanings of phra that phanom "การเปลี่ยนถ่ายความหมายของพระธาตุพนม"  
Date of Distribution 19 November 2021 
Conference
     Title of the Conference งานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 16 (The 16th International Conference on Humanities and Social Sciences: IC-HuSo 2021 ) 
     Organiser คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Conference Place ณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หรือ ผ่านระบบออนไลน์ (Online) 
     Province/State ขอนแก่น 
     Conference Date 18 November 2021 
     To 19 November 2021 
Proceeding Paper
     Volume 16 
     Issue 16 
     Page 581 
     Editors/edition/publisher งานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 16 (The 16th International Conference on Humanities and Social Sciences: IC-HuSo 2021 ) 
     Abstract บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนถ่ายความหมายของพระธาตุพนมจากอดีตถึงปัจจุบัน ข้อมูลที่ปรากฏในบทความนี้ได้มากจากการวิจัยเอกสาร ผลการวิจัยชี้ว่า พระธาตุพนมซึ่งตั้งอยู่ชายแดนไทย-ลาวนั้นถูกเปลี่ยนถ่ายความหมายไปแต่ละยุคสมัย กล่าวคือ ยุคศึกเจ้าอนุวงศ์ อาณาจักรลาวได้นำพระธาตุพนมไปใช้ในมิติของอำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่มีความสำคัญต่อทิศทางการเมืองในราชสำนัก ส่วนฝั่งสยามได้นำภาพสัญลักษณ์พระธาตุพนมไปใช้ในการแสดงสถานที่สำคัญของบริเวณภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ซึ่งทำให้พระธาตุพนมเริ่มเป็นที่รู้จักของคนภูมิภาคอื่น จนกระทั่งถึงยุคสงครามอินโดจีน พระธาตุพนมถูกนำไปเชื่อมโยงกับความหมายใหม่อีกครั้ง คือ การสร้างความเป็นพลเมืองไทย และยุคสงครามเย็น กลายเป็นตราสัญลักษณ์สถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกในภูมิภาคอีสาน การให้ความหมายใหม่จากชุดความรู้ด้านโบราณคดีของกรมศิลปากร และการผลิตซ้ำวาทกรรมของชุดความรู้ตำนานอุรังคธาตุ ในยุคพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงซึ่งมีการเข้ามาของสื่อสมัยใหม่และการกระตุ้นระบบเศรษฐกิจของจังหวัด พระธาตุพนมได้กลายเป็นพื้นที่เชิงเศรษฐกิจมีผู้คนเข้ามาจำหน่ายสินค้าภายในวัด และเริ่มมีการพัฒนาในรูปแบบผลิตภัณฑ์สินค้าวัฒนธรรมเพื่อให้เกิดมูลค่าในการแลกเปลี่ยน ตลอดจนปัจจุบันการสร้างพระธาตุพนมในประเทศสหรัฐอเมริกาและอินเดีย การยกระดับเสนอให้พระธาตุพนมกลายเป็น “มรดกโลกทางวัฒนธรรม” ถือเป็นการผลิตซ้ำความเชื่อเพื่อขยายเส้นวงขอบของวัฒนธรรมไปสู่ความเป็นสากล เป็นที่ยอมรับแก่คนทั่วโลกมากขึ้น ในขณะเดียวกัน พระธาตุพนมถูกทำให้กลายเป็นพระธาตุประจำวันเกิด (วันอาทิตย์) เพื่อแสดงให้เห็นว่า พระธาตุพนมมีพระธาตุบริวารอีกเจ็ดองค์ที่สำคัญตั้งอยู่ในจังหวัดนครพนม อย่างไรก็ตาม ถึงแม้พระธาตุพนมจะถูกนำไปเชื่อมโยงกับความหมายใหม่โดยเฉพาะมิติทางการเมืองและเศรษฐกิจ ความหมายของการเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ศูนย์รวมทางจิตวิญญาณของผู้คนยังคงมีอยู่เสมอมาจนถึงปัจจุบัน  
Author
625080005-4 Mr. ARAN JAMNONGUDOM [Main Author]
Humanities and Social Sciences Master's Degree

Peer Review Status ไม่มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Abstract 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis true 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0

<
forum