2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ อุบัติการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการฆ่าตัวตายสำเร็จของวัยรุ่นอายุระหว่าง 10-19 ปี เขตสุขภาพที่ 10 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 3 กรกฎาคม 2566 
วารสาร
     ชื่อวารสาร ศรีนครินทร์เวชสาร (SRINAGARIND MEDICAL JOURNAL) 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     ISBN/ISSN  
     ปีที่ 38 
     ฉบับที่
     เดือน กันยายน-ตุลาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2566 
     หน้า 13 
     บทคัดย่อ หลักการและวัตถุประสงค์: ประเทศไทยพบผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายสูงที่สุดในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะเขตสุขภาพที่ 10 พบนักเรียนนักศึกษามีการฆ่าตัวตายสำเร็จมากที่สุด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาอุบัติการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการฆ่าตัวตายสำเร็จในวัยรุ่นอายุระหว่าง 10 ปี ถึง 19 ปี เขตสุขภาพที่ 10 วิธีการศึกษา: แบบ Retrospective cohort study มีเหตุการณ์การฆ่าตัวตาย 627 ราย (ปี พ.ศ.2560-2564) จากระบบเฝ้าระวังผู้พยายามทำร้ายตนเอง กรมสุขภาพจิต ติดตามผู้ที่มีเหตุการณ์การฆ่าตัวตายทุกรายเพื่อทราบสถานะการฆ่าตัวตายสำเร็จในระยะเวลา 1 ปี สิ้นสุด ปี พ.ศ.2565 หลังเกิดเหตุการณ์การฆ่าตัวตาย หาความสัมพันธ์โดยโมเดลเชิงเส้นโดยนัยทั่วไป (Generalized Linear Model, GLM) นำเสนอค่า Adjusted Relative Risk (Adjusted RR) พร้อม 95%CI ผลการศึกษา: วัยรุ่นฆ่าตัวตายสำเร็จ 47 ราย อัตราอุบัติการณ์ 7.5 ต่อ 100 ราย/ปี (95%CI; 5.6 ถึง 9.8) พบว่าเพศและวิธีการทำร้ายตัวเองด้วยการผูกคอ มีความสัมพันธ์กับการฆ่าตัวตายสำเร็จของวัยรุ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) เพศหญิงมีโอกาสเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสำเร็จเป็น 0.40 เท่า เมื่อเทียบกับเพศชาย (Adjusted RR = 0.40; 95%CI; 0.23 ถึง 0.69) การทำร้ายตัวเองด้วยวิธีการผูกคอ มีโอกาสเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสำเร็จเป็น 20.5 เท่า เมื่อเทียบกับการทำร้ายตนเองด้วยการใช้ปืน (Adjusted RR = 20.5; 95%CI; 10.0 ถึง 41.9) สรุป: เพศและวิธีการทำร้ายตัวเองด้วยการผูกคอมีความสัมพันธ์ยิ่งกับการฆ่าตัวตายสำเร็จในวัยรุ่นอายุ 10-19 ปี เขตสุขภาพที่ 10 ในขณะที่อุบัติการณ์การฆ่าตัวตายสำเร็จก็สูงเช่นกัน 
     คำสำคัญ การฆ่าตัวตาย, การฆ่าตัวตายสำเร็จในวัยรุ่น, อุบัติการณ์, การทำร้ายตัวเอง 
ผู้เขียน
645110068-7 น.ส. กฤติกา สุภรัมย์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0