2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพจากชานอ้อยโดยเตาปฏิกรณ์ฟลูอิดไดซ์เบดแบบหมุนเวียน 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 4 กรกฎาคม 2566 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมสัมมนาวิชาการระดับชาติ การจัดการในยุคเทคโนโลยีนำการเปลี่ยนแปลง ครั้งที่ 5 ประจำปี 2566 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ 
     สถานที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ 
     จังหวัด/รัฐ นครปฐม 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 26 พฤษภาคม 2566 
     ถึง 26 พฤษภาคม 2566 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2566 
     Issue (เล่มที่) 978-974-625-999-6 
     หน้าที่พิมพ์ 220-231 
     Editors/edition/publisher วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ 
     บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพจากชานอ้อยโดยเตาปฏิกรณ์ฟลูอิดไดซ์เบดแบบหมุนเวียน และ (2) เพื่อประเมินค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ มาใช้เป็น BASE LINE ของการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพจากชานอ้อยโดยเตาปฏิกรณ์ฟลูอิดไดซ์เบดแบบหมุนเวียน และเสนอแนวทางการลดก๊าซเรือนกระจกของการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพจากชานอ้อยโดยเตาปฏิกรณ์ฟลูอิดไดซ์เบดแบบหมุนเวียน โดยใช้วิธีการประเมินวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Assessment: LCA) แบบ Business-to- Business: B2B หรือ Cradle-to-Gate เพื่อทำการประเมินการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพจากชานอ้อยโดยเตาปฏิกรณ์ฟลูอิดไดซ์เบดแบบหมุนเวียน จากการศึกษา พบว่า (1) น้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพจากชานอ้อยโดยเตาปฏิกรณ์ฟลูอิดไดซ์เบดแบบหมุนเวียน 1 ลิตร (2) มีค่าฟุตพริ้นของการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพเท่ากับ 12.343 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อลิตร โดยขั้นตอนการได้มาซึ่งวัตถุดิบและในขั้นตอนการผลิตเท่ากับ 2.907 และ 9.436 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อลิตร ตามลำดับ โดยทั้งขั้นตอนการได้มาซึ่งวัตถุดิบและขั้นตอนการผลิตมีค่าการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกส่วนใหญ่มาจากการใช้พลังงานไฟฟ้า คิดเป็นร้อยละ 45.30 ของค่าการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดของกระบวนการได้มาซึ่งวัตถุดิบ และคิดเป็นร้อยละ 66.61 ของค่าการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดของกระบวนการผลิต แนวทางการลดก๊าซเรือนกระจกจึงควรมุ่งเน้นไปที่การอนุรักษ์พลังงาน เพื่อให้การผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพจากชานอ้อยโดยเตาปฏิกรณ์ฟลูอิดไดซ์เบดแบบหมุนเวียนเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น 
ผู้เขียน
645040067-8 น.ส. พิรณัชชา พรมดี [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) ไม่มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0