ชื่อบทความที่เผยแพร่ |
การพัฒนาสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านบนจักรวาลนฤมิตร เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 |
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ |
16 มิถุนายน 2566 |
การประชุม |
ชื่อการประชุม |
การประชุมวิชาการคณิตศาสตร์บริสุทธิ์และประยุกต์ประจำปี 2566 |
หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม |
ภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
สถานที่จัดประชุม |
อาคารมหามกุฏ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
จังหวัด/รัฐ |
กรุงเทพมหานคร |
ช่วงวันที่จัดประชุม |
15 มิถุนายน 2566 |
ถึง |
16 มิถุนายน 2566 |
Proceeding Paper |
Volume (ปีที่) |
2023 |
Issue (เล่มที่) |
1 |
หน้าที่พิมพ์ |
141 |
Editors/edition/publisher |
ภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อออกแบบและพัฒนาสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านบนจักรวาลนฤมิตร เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ และ 2) เพื่อศึกษาความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนด้วยสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านบนจักรวาลนฤมิตร เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น ที่เรียนในรายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน (ค21102) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 29 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงจากทั้งหมด 3 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านบนจักรวาลนฤมิตร เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ ในรายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน (ค21102) 2) แบบวัดความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ t – test (Dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1) สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านบนจักรวาลนฤมิตร เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) สถานการณ์ปัญหา (2) แหล่งเรียนรู้ (3) กรณีที่เกี่ยวข้อง (4) ศูนย์ส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ (5) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (6) ฐานการช่วยเหลือ และ (7) การโค้ช 2) นักเรียนที่เรียนด้วยสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านบนจักรวาลนฤมิตร เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ (Peer Review) |
มีผู้ประเมินอิสระ |
มีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
รูปแบบ Proceeding |
Full paper |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา |
ไม่เป็น |
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล |
ไม่ได้รับรางวัล |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|