2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ ผลของการทำกิจกรรมร่วมกับดนตรีอังกะลุงต่อทักษะทางสังคมในเด็กที่มีภาวะออทิสซึมสเปกตรัม EFFECTS OF ACTIVITY COMBINED WITH ANGKLUNG MUSIC ON SOCIAL SKILLS IN CHILDREN WITH AUTISM  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 28 พฤษภาคม 2566 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 10 และระดับนานาชาติ ครั้งที่ 8 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สำนักวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
     สถานที่จัดประชุม ระบบออนไลน์ ผ่านโปรแกรม ZOOM 
     จังหวัด/รัฐ จังหวัดขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 28 พฤษภาคม 2566 
     ถึง 28 พฤษภาคม 2566 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) ปีที่ 10 
     Issue (เล่มที่) ISBN (e-book) : 978-616-94016-2-9 
     หน้าที่พิมพ์ 118-130 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการทำกิจกรรมร่วมกับดนตรีอังกะลุงต่อทักษะทางสังคมในเด็กที่มีภาวะ ออทิสซึมสเปกตรัม และเพื่อเปรียบเทียบทักษะทางสังคมก่อนและหลังการทำกิจกรรมร่วมกับดนตรีอังกะลุงต่อทักษะทางสังคมในเด็กที่มีภาวะออทิสซึมสเปกตรัม กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เด็กที่มีภาวะออทิสซึมสเปกตรัมกำลังศึกษาในระดับชั้นเตรียมความพร้อม ที่ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดเลย จำนวน 5 คน อายุระหว่าง 6-8 ปี โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการบรรเลงอังกะลุง ซึ่งค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC ของกิจกรรมร่วมกับดนตรีอังกะลุงต่อทักษะทางสังคมในเด็กที่มีภาวะออทิสซึมสเปกตรัม มีค่าอยู่ระหว่าง 0.98-1.00 ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้มากกว่า 0.15 ถือว่าสอดคล้องกับสถานการณ์และการนำไปใช้ 2) แบบประเมินด้านอารมณ์ จิตใจของเด็กที่มีภาวะออทิสซึมสเปกตรัม ซึ่งค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC ของแบบประเมิน มีค่าอยู่ที่ 0.98 แปลผล ใช้ได้ 3) แบบประเมินทักษะทางสังคมของเด็กที่มีภาวะออทิสซึมสเปกตรัม ซึ่งค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC ของแบบประเมิน มีค่าอยู่ที่ 0.96 แปลผล ใช้ได้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ของการเกิดพฤติกรรม ค่าเฉลี่ยและร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า การทำกิจกรรมร่วมกับดนตรีอังกะลุง สามารถพัฒนาทักษะทางสังคมในเด็กที่มีภาวะออทิสซึม ทั้ง 5 คนมีคะแนนความสามารถสูงขึ้นในทุกพฤติกรรมที่ได้รับการประเมิน และผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมด้านสังคมก่อนและหลังการทำกิจกรรมร่วมกับดนตรีอังกะลุงต่อทักษะทางสังคมในเด็กที่มีภาวะออทิสซึมสเปกตรัม มีการพัฒนาพฤติกรรมด้านสังคม ของเด็กที่มีภาวะออทิสซึมสเปกตรัม ทั้ง 5 คน สูงขึ้น โดยคิดเป็นร้อยละ 100 คำหลัก : การทำกิจกรรมร่วมกับดนตรีอังกะลุง,ทักษะทางสังคม,เด็กที่มีภาวะออทิสซึมสเปกตรัม  
ผู้เขียน
625050142-2 น.ส. มุฑิตา ปากแข็ง [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 2