2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ แนวทางการเพิ่มความสุขในการทำงานของพนักงานสนับสนุนโดยใช้กระบวนการสุนทรียสาธกกรณีศึกษา โรงพยาบาล AAA จังหวัดขอนแก่น 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 24 กรกฎาคม 2566 
การประชุม
     ชื่อการประชุม The 5th BAs National Conference 2023 การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 5 (ในความร่วมมือ 5 สถาบัน) 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม  
     สถานที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 
     จังหวัด/รัฐ กทม 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 24 กรกฎาคม 2566 
     ถึง 24 กรกฎาคม 2566 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2566 
     Issue (เล่มที่) 978-616-296-284-4 
     หน้าที่พิมพ์ 457-468 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาประสบการณ์เชิงบวกที่จะเพิ่มความสุขในการทำงานของพนักงานสนับสนุน โรงพยาบาล AAA จังหวัดขอนแก่น ซึ่งจะค้นหาปัจจัยจุดร่วม (Convergences) และปัจจัยจุดโดดเด่น(Divergences) ความประทับใจและความสุขที่ส่งผลต่อการทำงานของพนักงานสนับสนุนโรงพยาบาล AAA จังหวัดขอนแก่น จากการสัมภาษณ์ จำนวน 19 คน การศึกษาครั้งนี้จะเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)ร่วมกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยใช้กระบวนการสุนทรียสาธก (Appreciative Inquiry Process) คือ การค้นหา (Discovery) การวาดฝัน (Dream) การออกแบบ (Design) และการดําเนินงาน (Destiny) ในการค้นหาประสบการณ์เชิงบวกของพนักงาน ผลการศึกษาพบว่าจุดร่วม (Convergences) 3 อันดับแรก คือ มีกิจกรรมผ่อนคลาย รักในงานที่ทำและเพื่อนร่วมงาน จุดโดดเด่น (Divergences) คือ มีมิตรภาพในการทำงาน หัวหน้างาน มีอิสระในการทำงาน รายได้และสวัสดิการ สภาพแวดล้อมในการทำงานดี และทำงานเป็นทีม ซึ่งจากการศึกษา ทำให้ทราบถึงปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มความสุขในการทำงานของพนักงานสนับสนุนและสามารถเสนอแนวทางการเพิ่มความสุขให้กับพนักงานสนับสนุนโดยการจัดโครงการหรือกิจกรรมเพื่อนำไปสู่การเพิ่มผลประโยชน์ทั้งในด้านการทำงานและคุณภาพชีวิตของพนักงานในองค์กรต่อไป คำสำคัญ: กระบวนการสุนทรียสาธก ปัจจัยจุดร่วม ปัจจัยจุดโดดเด่น พนักงานสนับสนุน  
ผู้เขียน
645740154-4 น.ส. ชัชฎา วัฒนากุลปัญญา [ผู้เขียนหลัก]
วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Abstract 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ ไม่เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0