ชื่อบทความที่เผยแพร่ |
ผลการใช้แอปพลิเคชันฝึกสมองประลองความจำ เพื่อพัฒนาการคิดเชิงบริหาร ด้านความจำขณะทำงาน ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา |
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ |
14 กรกฎาคม 2566 |
การประชุม |
ชื่อการประชุม |
การประชุมวิชาการนานาชาติและนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณทิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ ๕๖ "การศึกษาตลอดชีวิตเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน" |
หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม |
มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด |
สถานที่จัดประชุม |
ออนไลน์ |
จังหวัด/รัฐ |
ออนไลน์ |
ช่วงวันที่จัดประชุม |
14 กรกฎาคม 2566 |
ถึง |
14 กรกฎาคม 2566 |
Proceeding Paper |
Volume (ปีที่) |
2566 |
Issue (เล่มที่) |
1 |
หน้าที่พิมพ์ |
252-260 |
Editors/edition/publisher |
การประชุมวิชาการนานาชาติและนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณทิตศึกษาศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ ๕๖ |
บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาพัฒนาการคิดเชิงบริหาร ด้านความจำขณะทำงาน
ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาและศึกษาผลการใช้แอปพลิเคชันฝึกสมองประลองความจำ
พัฒนาการคิดเชิงบริหาร ด้านความจำขณะทำงาน ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาก่อน
และหลังการใช้แอปพลิเคชันฝึกสมองประลองความจำ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ เด็กที่มี
ความบกพร่องทางสติปัญญา อายุระหว่าง 3 - 6 ปี จำนวน 5 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง
(Purposive Sampling) การวิจัยนี้ได้ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น เลขที่ HE653289 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แอปพลิเคชันฝึก
สมองประลองความจำ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบประเมินการการพัฒนาการคิดเชิงบริหาร
(Executive Function: EF) ด้านความจำขณะทำงาน นักเรียนที่ มีความบกพร่องทางสติปัญญา
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานคือค่าความถี่ ร้อยละ และเปรียบเทียบความแตกต่งของคะแนนก่อน
และหลังการใช้นวัตกรรม ด้วยสถิติ The Wilcoxon Signed Ranks Test
การใช้แอปพลิเคชันฝึกสมองประลองความจำ เพื่อพัฒนาการคิดเชิงบริหาร ด้านความจำขณะ
ทำงาน ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC อยู่ระหว่าง
0.66 - 1.00 และคะแนนประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับ 5 คือ มีความเหมาะสมมากที่สุด และผล
การเปรียบเทียบการใช้แอปพลิเคชันฝึกสมองประลองความจำ เพื่อพัฒนาการคิดเชิงบริหาร ด้านความจำ
ขณะทำงาน ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา คะแนน ทั้ง 5 คน มีระดับทักษะการพัฒนาการ
คิดเชิงบริหาร ด้านความจำขณะทำงาน สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ (Peer Review) |
ไม่มีผู้ประเมินอิสระ |
มีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
รูปแบบ Proceeding |
Full paper |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ใช้สำหรับสำเร็จการศึกษา |
ไม่เป็น |
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล |
ไม่ได้รับรางวัล |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|