2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ แนวคิดของนักเรียนในการเรียนรู้เรื่อง วงกลม ในชั้นเรียนที่ใช้วิธีการแบบเปิด Students’ Ideas for learning about Circle in Classroom using an Open Approach 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 19 กรกฎาคม 2566 
การประชุม
     ชื่อการประชุม ภาวะถดถอยทางการเรียนรู้หลังสถานการณ์โควิด 19 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคริทนรท์วิโรฒ 
     สถานที่จัดประชุม รูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบ ZOOM 
     จังหวัด/รัฐ
     ช่วงวันที่จัดประชุม 15 สิงหาคม 2566 
     ถึง 15 สิงหาคม 2566 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2566 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 112-124 
     Editors/edition/publisher ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนิดา มิตรานันท์ 
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แนวคิดของนักเรียนในการเรียนรู้เรื่อง วงกลม ในชั้นเรียนที่ใช้วิธีการแบบเปิด กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่สมัครใจเข้าร่วมในการวิจัยครั้งนี้ จำนวนนักเรียน 12 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ดำเนินการสอนตามวิธีการแบบเปิดโดยเริ่มต้นจากการเรียนรู้เกี่ยวกับเส้นผ่านศูนย์กลางและเส้นรอบวงเข้าสู่การเรียนรู้เกี่ยวกับพื้นที่ของรูปวงกลม วิเคราะห์ข้อมูลจากโพรโทคอล วิดีทัศน์ชั้นเรียนและใบกิจกรรมของนักเรียนตามกรอบลำดับกิจกรรมการสอน (Flow of Lesson) ตามแนวคิดของ Inprasitha M. (2017) ประกอบด้วย การแสดงแทนโลกจริงของนักเรียน (Representation of Real World) การแสดงแทนสื่อกึ่งรูปธรรม (Semi Concrete Aids) และการแสดงแทนโลกคณิตศาสตร์ของนักเรียน (Representation of mathematical World) ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดของนักเรียนในการเรียนรู้เรื่อง วงกลม ในชั้นเรียนที่ใช้วิธีการแบบเปิดปรากฏนักเรียนเรียนรู้เรื่องวงกลมตามลำดับกิจกรรมการสอน (Flow of Lesson) ทั้ง 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การแสดงแทนโลกจริงในขั้นการนำเสนอสถานการณ์ปัญหา คือ นักเรียนอธิบายว่าการกลิ้งวงกลมเพื่อหาระยะทางต้องกลิ้งไปข้างหน้ามีวิธีการเช่นเดียวกันกับการกลิ้งของลูกบอลและการหมุนของล้อรถที่ตนเองเคยพบเจอ 2) การแสดงแทนสื่อกึ่งรูปธรรมในขั้นการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียน คือ นักเรียนใช้วงกลมแต่ละขนาดกลิ้งบนแถบกระดาษและวัดระยะทางที่กลิ้งได้ด้วยตลับเมตร นักเรียนหาพื้นที่รูปวงกลมโดยนำสติ๊กเกอร์รูปวงกลมที่ถูกแบ่งออกเป็นส่วน ๆ ที่เท่ากันมาตัดออกเป็นส่วน ๆ และสร้างเป็นรูปใหม่เพื่อหาพื้นที่จากความรู้เดิมของตัวเองโดยขณะที่นักเรียนได้สังเกตและลงมือแก้ปัญหาผ่านสื่อกึ่งรูปธรรม จะเกิดการเคลื่อนย้ายจากโลกจริงของนักเรียนผ่านสื่อกึ่งรูปธรรมมาสู่โลกคณิตศาสตร์และ 3) การแสดงแทนโลกคณิตศาสตร์ของนักเรียนในขั้นการอภิปรายแนวคิดและขั้นการสรุปแนวคิดร่วมกัน คือ นักเรียนแสดงแนวคิดเป็นตัวเลขลงในตารางที่ครูกำหนดให้หาอัตราส่วนของเส้นรอบวงโดยการคำนวณคำตอบเป็นตัวเลข นักเรียนหาพื้นที่รูปวงกลมโดยแบ่งรูปวงกลมออกเป็นส่วน ๆ ที่เท่ากันโดยใช้สูตรพื้นที่รูปสี่เหลี่ยม (กว้าง × ยาว) และสูตรพื้นที่รูปสามเหลี่ยม (1/2 × ฐาน × สูง) ต่อยอดเป็นสูตรการหาพื้นที่รูปวงกลม (รัศมี × รัศมี × 3.14) จากที่กล่าวมาข้างต้นแสดงให้เห็นว่าวิธีการแบบเปิด (Open Approach) เกิดแนวคิดของนักเรียนในการเรียนรู้เรื่องวงกลม ตามลำดับกิจกรรมการสอน (Flow of Lesson) โดยขั้นที่ 1 การนำเสนอสถานการณ์ปัญหานักเรียนแสดงแนวคิดผ่านโลกจริงจากประสบการณ์ของตนเอง ขั้นที่ 2 การเรียนรู้ด้วยตนเองนักเรียนแสดงแนวคิดของตนเองผ่านสื่อกึ่งรูปธรรมเพื่อนำไปสู่การเชื่อมโยงโลกคณิตศาสตร์ในขั้นที่ 3 การอภิปรายและเปรียบเทียบในชั้นเรียนและขั้นที่ 4 การสรุปโดยเชื่อมโยงแนวคิด นักเรียนอธิบายแนวคิดของตนเองและสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้โดยการแสดงแทนโลกคณิตศาสตร์ผ่านตัวเลข ประโยคทางคณิตศาสตร์ สูตรการหาพื้นที่ ทำให้เกิดแนวคิดในการเรียนรู้เรื่องวงกลมนำไปสู่สูตรการหาพื้นที่ของวงกลม  
ผู้เขียน
635050040-1 น.ส. อพิชญา สุมาลัย [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) ไม่มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0