2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้น ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในอำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 19 กันยายน 2566 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน (Academic Journal of Community Public Health) 
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ 120 หมู่ 3 ชั้น 2 - 4 อาคารรวมหน่วยงานราชการศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ฯ 10210  
     ISBN/ISSN 2408-2686 
     ปีที่ 10 
     ฉบับที่
     เดือน
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2566 
     หน้า  
     บทคัดย่อ ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา: อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านถือว่าเป็นบุคลากรด่านหน้าในการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุม ป้องกัน และเฝ้าระวังโรคโควิด 19 การฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้นถือเป็นหนึ่งมาตรการในการป้องกันและควบคุมโรค เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรงและลดอัตราการเสียชีวิต แต่พบว่าอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านไม่ฉีดวัคซีนตามเป้าหมายที่กำหนด วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้น ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในอำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบ Case-control กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 294 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มศึกษา คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ปฏิบัติงานในอำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนครที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้น และกลุ่มควบคุม คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ปฏิบัติงานในอำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนครที่ฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้น วิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วย Multiple logistic Regression นำเสนอขนาดความสัมพันธ์ด้วย Adjusted odds ratio (ORadj) ที่ช่วงความเชื่อมั่น 95% ผลการศึกษา: เพศ และการรับรู้ความเสี่ยงและความรุนแรงของโรคโควิด 19 มีความสัมพันธ์กับการไม่ฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพศชายไม่ฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้น เป็น 1.86 เท่าของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพศหญิง (ORadj = 1.86, 95% CI 1.00 – 3.44; p-value = 0.048) และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ไม่ฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้น มีการรับรู้ต่ำด้านความเสี่ยงและความรุนแรงของโรคโควิด 19 เป็น 1.98 เท่าของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่มีการรับรู้สูงด้านความเสี่ยงและความรุนแรงของโรคโควิด 19 (ORadj = 1.98, 95% CI 1.14 – 3.42; p-value = 0.015) ข้อเสนอแนะ: ควรมีการดำเนินงานเพื่อให้เกิดการรับรู้ถึงความเสี่ยงและความรุนแรงของโรคโควิด 19 และต้องคอยกำกับไม่ให้เกิดข้อมูลที่คลาดเคลื่อนที่ไม่เป็นจริงเกี่ยวกับโรคหรือวัคซีนโควิด 19 เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ซึ่งจะทำให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตัดสินใจฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้นเพิ่มมากขึ้น 
     คำสำคัญ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, วัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้น 
ผู้เขียน
645110075-0 น.ส. นฤมล โคตรชะขึง [ผู้เขียนหลัก]
คณะสาธารณสุขศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0