2012 ©
             Publication
Journal Publication
Research Title การเปรียบเทียบบทบาทขุนสังขานต์แห่งล้านนาไทย และนางสังขานหลวงพระบาง 
Date of Distribution 2 September 2023 
Conference
     Title of the Conference การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ประจำปี 2566 (FAR9) “ทักษะ ศิลปะ ปรัชญาแห่งอุษาคเนย์” Philosophy and Practice of ASEAN Arts 
     Organiser คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Conference Place ณ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     Province/State ขอนแก่น 
     Conference Date 1 September 2023 
     To 2 September 2023 
Proceeding Paper
     Volume
     Issue
     Page 913 
     Editors/edition/publisher
     Abstract บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิจัย การเปรียบเทียบบทบาทขุนสังขานต์แห่งล้านนาไทย และนางสังขาน เมืองหลวงพระบางประเทศลาวเพื่อเสนอมุมมองต่าง ๆ ของขุนสังขานต์แห่งล้านนาไทย และนางสังขาน เมืองหลวงพระบางประเทศลาว โดยอาศัยการศึกษา คติชน (เรื่องเล่า ตำนาน นิทาน)หรือประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของขุนสังขานต์ และนางสังขาน เมืองหลวงพระบางสปป.ลาว การศึกษานี้มุ่งค้นหา บทบาทหน้าที่ขุนสังขานต์ แห่งล้านนาไทย และนางสังขานเมืองหลวงพระบางประเทศลาว ซึ่งคนพบ บทบาทของขุนสังขานต์ที่แตกต่างจากนางสังขานเมืองหลวงพระบาง สปป.ลาว โดยวิเคราะห์ผ่านทฤษฎีบทบาทหน้าที่นิยมของ William R. Bascom มาเป็นกรอบเพื่ออธิบายผลการศึกษาพบว่า ขุนสังขานต์ปรากฏในลักษณะบุคคลทั้งเพศหญิง และเพศชายสูงวัยที่เรียกว่าปู่สังขานต์และย่าสังขานต์ ทำหน้าที่นำพาสิ่งที่เป็นเคราะห์ไปจากสังคมล้านนาและขุนสังขานต์ที่ปรากฏในเอกสารโบราณล้านนากลับเป็นบุรุษเพศเท่านั้น ในแต่ละปีทรงอาภรณ์ และมีเคลื่องแต่งกาย บุคลิกที่แตกต่างกัน มีความสัมพันธ์กับระบบปฏิทิน อันเป็นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ปรากฎในพื้นที่ล้านนาเท่านั้น สะท้อนความเชื่อและความศรัทธาที่จะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตในด้านต่าง ๆ ตลอดจนจารีต ขนบ ธรรมเนียมและประเพณีท้องถิ่นทั้งใช้อธิบายที่มาและเหตุผลในการทำพิธีกรรม ในพิธีกรรมตามความเชื่อ ของชาวล้านนาสืบทอดกันมา ประเพณีมาตรฐานทางพฤติกรรม ธรรมเนียมปฏิบัติ ทำหน้าที่เป็นชุดคำพยากรณ์เพื่อหาทางออกให้แก่ความคับข้องใจ บรรเทาความทุกข์ ของมนุษย์ และนางสังขาน เมืองหลวงพระบาง สปป.ลาว ในฐานะตัวแทนธิดาของท้าวกบิลพรหม ซึ่งใช้อธิบายที่มาและเหตุผลในการทำพิธีกรรม ที่ทำหน้าที่นำเศียรของบิดา คือท้าวกบิลพรหมออกมาแห่ ซึ่งแสดงถึงความกตัญญู นอกจากนี้ ยังยกระดับความสำคัญ ในพิธีการแห่วออันศักดิ์สิทธิ์ ตลอดทั้งทำหน้าที่ให้การศึกษาแก่สังคมที่แสดงถึงความกตัญญูที่ธิดา มีต่อบิดา ในปัจจุบันจะมีการประกวดนางสังขานเพื่อคัดเลือกหญิงสาวลูกหลานของชาวเมืองหลวงพระบางมาผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเข้าทำหน้าที่ให้ควาเพลิดเพลิน การประกวดนางสังขานในแต่ละปี เป็นข่าวใหญ่ระดับประเทศ และได้ถูกนำเสนอ ทั้งทางโทรทัศน์เว็บไซต์ สื่อสิ่งพิมพ์ รวมถึงเอกสารการท่องเที่ยว ดึงดูดคนท้องถิ่นคนลาวและชาวต่างประเทศ มาอยู่ในพื้นที่ ของค่ำคืนแห่งการประกวด สร้างความเพลิดเพลิน และความประทับใจแก่ ผู้ได้พบเห็นเท่านั้น ซึ่งต่างจากขุนสังขานต์ทำหน้าที่เป็นชุดคำพยากรณ์เพื่อหาทางออกให้แก่ความคับข้องใจ และนางสังขานก็มีลักษณะของบุตรธิดาเพศหญิงทั้ง 7 แตกต่างจากขุนสังขานต์ที่เป็นเพศชาย หรือในเรื่องเล่าที่เล่าขานว่าเป็นทั้งหญิงและชายสูงอายุ ตลอดทั้งความเชื่อก็มีที่มาที่แตกต่างกันอีกด้วย  
Author
657220001-1 Mr. CHAKKARIN SANGSOPHA [Main Author]
Fine and Applied Arts Doctoral Degree

Peer Review Status ไม่มีผู้ประเมินอิสระ 
Level of Conference ชาติ 
Type of Proceeding Full paper 
Type of Presentation Oral 
Part of thesis false 
Presentation awarding false 
Attach file
Citation 0

<
forum