ชื่อบทความที่เผยแพร่ |
กรอบแนวคิดการออกแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนร้จักรวาลนฤมิตเพื่อส้งเสริมทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรม เรื่อง ภูมิศาสตร์วัฒนธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย |
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ |
18 พฤศจิกายน 2565 |
การประชุม |
ชื่อการประชุม |
การประชุมวิชาการระดับชาติ โสตฯ-เทคโนฯ สัมพันธ์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 35 |
หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม |
สาขาวิชานวัตกรรม เทคโนโลยี และวิทยาการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับสมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา (ThaiAECT) และสมาคมเมตาเวิร์สแห่งประเทศไทย |
สถานที่จัดประชุม |
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
จังหวัด/รัฐ |
ขอนแก่น |
ช่วงวันที่จัดประชุม |
4 พฤศจิกายน 2565 |
ถึง |
6 พฤศจิกายน 2565 |
Proceeding Paper |
Volume (ปีที่) |
35 |
Issue (เล่มที่) |
1 |
หน้าที่พิมพ์ |
114-127 |
Editors/edition/publisher |
จิดาภา ทัศคร, จารุณี ซามาตย์, และ ปรมะ แขวงเมือง |
บทคัดย่อ |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์กรอบแนวคิดทฤษฎีการออกแบบสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้จักรวาลนฤมิต เพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรม เรื่อง ภูมิศาสตร์วัฒนธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนดงมะไฟวิทยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 33 คน และผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบกรอบแนวคิดทฤษฎีการออกแบบสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ จำนวน 5 คน รูปแบบการวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเอกสาร และการวิจัยเชิงสำรวจ มีขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาหลักการทฤษฎี 2) การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง 3) ศึกษาบริบทที่เกี่ยวข้อง 4) สังเคราะห์กรอบแนวคิดทฤษฎี และกรอบแนวคิดการออกแบบสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ฯ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจความคิดเห็นของผู้เรียน แบบบันทึกการสังเคราะห์กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี แบบบันทึกการสังเคราะห์กรอบแนวคิดการออกแบบ แบบประเมินสำหรับผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสรุป ตีความและบรรยายเชิงวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีมีพื้นฐานเชิงทฤษฎีที่สำคัญ 5 ด้าน ดังต่อไปนี้ 1) พื้นฐานจิตวิทยาการเรียนรู้ 2) พื้นฐานศาสตร์การสอน 3) พื้นฐานบริบท 4) พื้นฐานการสร้างสรรค์และนวัตกรรม 5) พื้นฐานทฤษฎีสื่อและเทคโนโลยี ส่วนกรอบแนวคิดการออกแบบ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน 1) การกระตุ้นโครงสร้างทางปัญญาและการสร้างสรรค์และนวัตกรรม 2) การสนับสนุนการปรับสมดุลทางปัญญา 3) การส่งเสริมการสร้างความรู้และการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม 4) การช่วยเหลือการสร้างความรู้ และสำหรับการสังเคราะห์เป็นองค์ประกอบของสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ฯ ประกอบด้วย 1) สถานการณ์ปัญหา 2) แหล่งการเรียนรู้ 3) ห้องเครื่องมือทางปัญญา 4) ห้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 5) ห้องส่งเสริมการสร้างสรรค์และนวัตกรรม 6) ฐานการช่วยเหลือ 7) การโค้ช
|
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ (Peer Review) |
มีผู้ประเมินอิสระ |
มีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
รูปแบบ Proceeding |
Full paper |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล |
ไม่ได้รับรางวัล |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|