2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ กรอบแนวคิดการออกแบบการพัฒนาบอร์ดเกมส่งเสริมเมนทอลโมเดลในการถ่ายภาพที่บูรณาการปัญญาประดิษฐ์ช่วยการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาเวชนิทัศน 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 18 พฤศจิกายน 2565 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ โสตฯ-เทคโนฯ สัมพันธ์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 35 (NCECT2022)  
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม สาขาวิชานวัตกรรม เทคโนโลยี และวิทยาการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับสมาคมเทคในโลยีและสื่อสารการศึกษา (ThaiAECT) และสมาคมเมตาเวีร์สแห่ง ประเทศไทย 
     สถานที่จัดประชุม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 4 พฤศจิกายน 2565 
     ถึง 6 พฤศจิกายน 2565 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 35 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 151-163 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่องสังเคราะห์กรอบแนวคิดทฤษฎีการออกแบบพัฒนาบอร์ดเกมส่งเสริมเมนทอลโมเดลในการถ่ายภาพที่บูรณาการปัญญาประดิษฐ์ช่วยการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาเวชนิทัศน์ โดยกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 สาขาเวชนิทัศน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 20 คน และ อาจารย์ที่ปรึกษาในการตรวจสอบเอกสาร และ กรอบแนวคิดในการออกแบบบอร์ดเกมฯ จำนวน 3 ท่าน รูปแบบการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเอกสาร และการวิจัยเชิงสำรวจมีขั้นตอนดังนี้ 1) การวิจัยเอกสารเพื่อทบทวนวรรณกรรม 2) การสังเคราะห์กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี 3) การศึกษาสภาพบริบท 4) การประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและการประเมิน 5) การสังเคราะห์กรอบแนวคิดการออกแบบ 6) การประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสํารวจความคิดเห็นสภาพบริบทการเรียนการสอน แบบตรวจสอบเอกสาร และ กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี แบบตรวจสอบเอกสาร และ กรอบแนวคิดในการออกแบบ ผลวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีมีพื้นฐานเชิงทฤษฎีที่สำคัญ 5 พื้นฐาน 1) พื้นฐานทางจิตวิทยาการเรียนรู้ 2) พื้นฐานทางศาสตร์การสอน 3) พื้นฐานด้านบริบท 4) พื้นฐานด้านปัญญาประดิษฐ์ช่วยเรียนรู้ 5) พื้นฐานทางด้านทฤษฎีการออกแบบบอร์ดเกมทางการศึกษา และ กรอบแนวคิดในการออกแบบ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน 1) การกระตุ้นให้ผู้เรียนเสียสมดุลทางปัญญา 2) การสนับสนุนให้ผู้เรียนปรับสมดุลทางปัญญาและส่งเสริมการแก้ปัญหา 3) ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการสร้างความรู้และส่งเสริมการสร้างเมนทอลโมเดล 4) ส่งเสริมการช่วยเหลือการสร้างความรู้และช่วยเหลือการสร้างเมนทอลโมเดล และสังเคราะห์เป็นองค์ประกอบของบอร์ดเกมฯ ที่ประกอบด้วย 1) สถานการณ์ปัญหา 2) แหล่งการเรียนรู้ 3) เครื่องมือทางปัญญา 4) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 5) ศูนย์ส่งเสริมการแก้ปัญหา 6) ศูนย์ส่งเสริมเมนทอลโมเดล 7) ฐานการช่วยเหลือ 8) โค้ช  
ผู้เขียน
645050025-8 นาย อิสริยาภรณ์ อาราษฎร์ [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0