ชื่อบทความที่เผยแพร่ |
พฤติกรรมการยอมรับช่องว่างของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์บริเวณทางเข้าวงเวียนภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น |
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ |
1 มิถุนายน 2566 |
การประชุม |
ชื่อการประชุม |
การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28 |
หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม |
คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ |
สถานที่จัดประชุม |
โรงแรมภูเก็ต เกรซแลนด์ รีสอร์ท แอน สปา |
จังหวัด/รัฐ |
ภูเก็ต |
ช่วงวันที่จัดประชุม |
24 พฤษภาคม 2566 |
ถึง |
26 พฤษภาคม 2566 |
Proceeding Paper |
Volume (ปีที่) |
2566 |
Issue (เล่มที่) |
1 |
หน้าที่พิมพ์ |
TRL-27 |
Editors/edition/publisher |
|
บทคัดย่อ |
วงเวียนสมัยใหม่เป็นมาตรการควบคุมทางแยกที่มีประสิทธิภาพ
สามารถควบคุมพฤติกรรมการใช้ความเร็วของผู้ขับขี่และลดความขัดแย้ง
บริเวณทางแยกได้ อย่างไรก็ตาม กายภาพวงเวียนอาจไม่สามารถบังคับ
พฤติกรรมของรถขนาดเล็ก เช่น ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ซึ่งเลือกวิ่งได้ทุก
ตำแหน่งในทางช่องจราจร ดังนั้น การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา
ขนาดช่องว่างวิกฤตและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการยอมรับช่องว่าง
ของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในบริเวณทางเข้าวงเวียน การศึกษานี้ตรวจสอบ
พฤติกรรมของผู้ขับขี่ที่ทางเข้า 14 ตำแหน่ง ในบริเวณวงเวียน 4 แห่ง ภายใน
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ใช้อากาศยานไร้คนขับ (UAV) บันทึกสภาพ
การจราจร สังเกตและบันทึกข้อมูลการตัดสินใจของผู้ขับขี่ต่อการยอมรับ
หรือปฏิเสธช่องว่าง 813 ครั้ง วิเคราะห์ขนาดช่องว่างวิกฤตด้วยวิธีการของ
Raff และใช้วิธีวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกทวิอธิบายปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ
การยอมรับช่องว่าง ผลการศึกษาพบว่าช่องว่างวิกฤตของผู้ขับขี่
รถจักรยานยนต์มีขนาด 2.63 วินาที โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลทำให้โอกาส
ยอมรับช่องว่างมากขึ้น ได้แก่ขนาดช่องว่างที่ใหญ่ขึ้น การที่ผู้ขับขี่ที่เลือกเข้า
วงเวียนในด้านไกลจมูกวงเวียนและเลือกชิดซ้ายในทางวิ่งวน ขนาดเส้นผ่าน
ศูนย์กลางเกาะกลางวงเวียนที่มีขนาดใหญ่ และรัศมีการเบนแนวทาง
เคลื่อนที่กว้าง ในขณะที่ปัจจัยที่มีอิทธิพลที่ทำให้การยอมรับช่องว่างลดลงคือ
การมีผู้โดยสารซ้อนท้าย และในกรณีที่รถคันหลังในช่องว่างเป็นรถยนต์
คำสำคัญ: ช่องว่างวิกฤต, การยอมรับช่องว่าง, วงเวียน, รถจักรยานยนต |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ (Peer Review) |
มีผู้ประเมินอิสระ |
มีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
รูปแบบ Proceeding |
Full paper |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล |
ไม่ได้รับรางวัล |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|