2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การศึกษาปัจจัยเบื้องต้นที่มีผลต่อความพึงพอใจและความคาดหวังในการเดินทางโดยรถรับ-ส่งสาธารณะ ภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 1 มิถุนายน 2566 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 28  
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ร่วมกับ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมภูเก็ต เกรซแลนด์ รีสอร์ท แอน สปา 
     จังหวัด/รัฐ จังหวัดภูเก็ต 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 24 พฤษภาคม 2566 
     ถึง 26 พฤษภาคม 2566 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2566 
     Issue (เล่มที่) 28 
     หน้าที่พิมพ์ TRL60 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยขอนแก่นและบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัยพบ ปัญหาจราจรติดขัด เนื่องจากมีการเดินทางโดยการใช้รถจักรยานยนต์ และ รถยนต์ส่วนตัวเป็นจำนวนมาก หนึ่งในทางเลือกในการลดปัญหาจราจร ติดขัดคือการเพิ่มประสิทธิภาพระบบขนส่งสาธารณะ การศึกษาครั้งนี้จึงมี วัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยเบื้องต้นที่มีผลต่อความพึงพอใจและความ ค า ด ห ว ั ง ใ น ก า ร เ ด ิ น ท า ง โ ด ย ร ถ ร ั บ -ส ่ ง ส า ธ า ร ณ ะ ภ า ย ใ น มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยทำการศึกษาความพึงพอใจจากผู้ใช้บริการและ ความคาดหวังจากผู้ไม่ใช้บริการรถรับ-ส่งสาธารณะ และศึกษาทัศนคติต่อ การกำหนดพื้นที่เขตควบคุม (Car free zone)/จำกัดการเดินรถ (Car less zone) พร้อมทั้งหาแนวทางและมาตรการในการเพิ่มประสิทธิภาพ และเพิ่ม อุปสงค์ในการใช้บริการรถรับ-ส่งสาธารณะ ภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น สำรวจข้อมูลโดยการสำรวจทางกายภาพและใช้เครื่องมือแบบสอบถามใน การเก็บรวบรวมข้อมูล จำนวน 800 ชุด จากผลเบื้องต้นในการวิเคราะห์ ปัจจัยที่มีผลต่ออุปสงค์ โดยวิธีการวิเคราะห์ปัจจัย (Factor Analysis) พบว่ามี 5 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและความคาดหวังของผู้ใช้และไม่ ใช้บริการรถรับ-ส่งสาธารณะ ได้แก่ ด้านการให้บริการ ด้านกายภาพ ด้าน เวลาและความน่าเชื่อถือ ด้านความปลอดภัย และด้านความคุ้มค่า จาก ปัจจัยดังกล่าว พบว่า ปัจจัยด้านกายภาพและด้านเวลาและความน่าเชื่อถือ นั้น ส่งผลกระทบต่อความพึงพอใจและความคาดหวังของผู้ใช้และไม่ใช้ บริการรถรับ-ส่งสาธารณะมากที่สุด และจากการสำรวจทัศนคติต่อการ กำหนดพื้นที่เขตควบคุม (Car free zone)/จำกัดการเดินรถ (Car less zone) พบว่าการจัดสรรพื้นที่ให้จอดรถส่วนบุคคล แล้วเปลี่ยนรูปแบบการ เดินทางเป็นรถรถรับ-ส่งสาธารณะ เพื่อเข้ามายังบริเวณพื้นที่เขตควบคุม ( Car free zone)/จ ำ ก ั ด ก า ร เ ด ิ น ร ถ ( Car less zone) ภ า ย ใ น มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับความพึงพอใจมากที่สุด  
ผู้เขียน
645040034-3 น.ส. วัชชิราภรณ์ วงศ์หมั่น [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0