2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การศึกษาผลกระทบและแนวทางการบริหารจัดการด้านคมนาคมขนส่งสาธารณะในระดับเมืองด้วยแนวคิด Urban Resilience จากวิกฤตการณ์โรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 กรณีศึกษา จังหวัดเพชรบูรณ์The Study of Impact and Urban Transportation Managementfrom the Corona Virus Disease 2019 Epidamic Case Study Phetchabun Province 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 23 พฤศจิกายน 2566 
การประชุม
     ชื่อการประชุม งานประชุมวิชาการระดับชาติ โฮมภูมิ ครั้งที่ 5 "โฮมดี มีแฮง" - Well-Being Together 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น  
     สถานที่จัดประชุม คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น  
     จังหวัด/รัฐ ขอนแก่น 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 23 พฤศจิกายน 2566 
     ถึง 23 พฤศจิกายน 2566 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่)
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 378-393 
     Editors/edition/publisher ผศ.ดร ธนสิทธิ์ จันทะรี  
     บทคัดย่อ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์การติดเชื้อโรคโคโรน่าไวรัส 2019 ในจังหวัดเพชรบูรณ์ และผลกระทบต่อการขนส่งสาธารณะเมืองเพชรบูรณ์ใน 2 ระดับข้างต้น 2) เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบตามแนวคิด Urban Resilience และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการด้านคมนาคมขนส่งสาธารณะในระดับเมืองด้วยแนวคิด Urban Resilience ในพื้นที่กรณีศึกษาให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยผสมผสานระหว่างเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ โดยประยุกต์แนวคิด Urban Resilience โดย (Lorenzo Chelleri, James J Waters, Marta Olazabaland Guido Minu, 2015) เป็นกรอบทฤษฎีในการวิจัย เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเป็น 4 แนวทางได้แก่ 1) การป้องกัน 2) การแก้ไขปัญหา 3) การฟื้นฟู และ 4) การมีส่วนร่วม ข้อมูลการวิจัยมาจากการทบทวนวรรณกรรม ร่วมกับการสำรวจพื้นที่สถานีขนส่งในพื้นที่กรณีศึกษา การสังเกตการณ์ แบบสอบถาม และ การสัมภาษณ์ โดยดำเนิน การกับกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการขนส่งสาธารณะและ การสาธารณสุข 2) ผู้ประกอบการและแรงงานที่ทำงานในการขนส่งสาธารณะ และ 3) ประชาชน นักเรียน นักศึกษา ผู้โดยสารที่ได้รับผลกระทบ ผลการศึกษาพบว่า โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลผลกระทบต่อการคมนาคมขนส่งสาธารณะในระดับ เมืองเพชรบูรณ์มากที่สุดคือ ด้านเศรษฐกิจ รองลงมาคือด้านการเดินทาง และ ด้านสังคมน้อยที่สุด ผู้ที่ได้รับผลกระ ทบมากที่สุด 3 ลำดับได้แก่ ผู้ประกอบการให้บริการด้านการคมนาคมขนส่งขนาดเล็ก ร้อยละ 40 ผู้ประกอบการร้าน ค้าบริเวณสถานีขนส่ง ร้อยละ 80 และผู้ประกอบการให้บริการด้านการคมนาคมขนส่งขนาดใหญ่ ร้อยละ 20 ผลลัพธ์ ประการถัดมา เมื่อวิเคราะห์ผลกระทบข้างต้นตามแนวคิด Urban Resilience พบว่า แนวทางการบริหารจัดการโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในด้านขนส่งสาธารณะ จังหวัดเพชรบูรณ์ มีจุดเด่นด้านการป้องกันและการมีส่วนร่วมจาก หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชาชน และผู้ประกอบการ แต่การแก้ไขปัญหามีข้อจำกัดด้านการติดต่อประสานงานระหว่าง 
ผู้เขียน
625200010-5 น.ส. วิรัลสุดา เถาะสุวรรณ [ผู้เขียนหลัก]
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0