2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การศึกษาการประเมินแบบทันท่วงทีของครูในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 9 ธันวาคม 2566 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 16 (The 16th National Graduate Research Conference; NGRC 2023) 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 
     สถานที่จัดประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 
     จังหวัด/รัฐ อุดรธานี 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 29 ธันวาคม 2566 
     ถึง 29 ธันวาคม 2566 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 16 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 1143-1159 
     Editors/edition/publisher บัณฑิตวิทยาลัย 
     บทคัดย่อ งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษาแนวทางการประเมินแบบทันท่วงทีของครูในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ใน บริบทชั้นเรียนที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพที่เน้น การวิเคราะห์โพรโทคอล (Protocol) และการบรรยายเชิงวิเคราะห์ (Analysis Description) ในการอธิบายแนวคิดที่เกิดขึ้นของนักเรียนและแนวทางการประเมินแบบทันท่วงทีของครู กลุ่มเป้าหมาย คือ ทีมการศึกษาชั้นเรียน จำนวน 6 คน ประกอบด้วย ครูประจําการโรงเรียนบ้านบึงเนียมบึงใคร่นุ่นท่าหิน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 2 คน และนักศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา สาขาคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 4 คน ประจำภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบบันทึกการสร้างแผนการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 7 แผน แบบบันทึกภาคสนาม เครื่องบันทึกวิดีทัศน์ เครื่องบันทึกภาพนิ่ง และเครื่องบันทึกเสียง โดยผู้วิจัยมีการ วิเคราะห์ข้อมูลตามกรอบการประเมินทักษะการคิดในศตวรรษที่ 21 (ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ 2561) โดยมีการพัฒนากรอบแนวคิดในการคาดการณ์คำถามของครู และสื่อเสริมที่ใช้สำหรับการประเมินแบบทันท่วงทีในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ ผลวิจัยพบว่าครูผู้สอนและทีมการศึกษาชั้นเรียนมีการร่วมมือกันวางแผนการสอน โดยปรากฏผลการประเมินทั้งหมด 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) กำหนดกรอบการประเมินในแต่ละคาบด้วยการคาดการณ์แนวคิดของนักเรียน แก้ปัญหาในหนังสือเรียนด้วยตนเอง แยกแนวคิดในการแก้ปัญหาระหว่างแนวคิดของครูที่ใช้แก้ปัญหากับแนวคิดของผู้เรียนที่ใช้แก้ปัญหา พร้อมอธิบายเหตุผลและหลักฐาน 2) สร้างเครื่องมือที่ช่วยในการประเมิน ได้แก่ การสร้างคำสั่ง การออกแบบสื่อ ตามแนวคิดของผู้เรียนโดยอาศัยแนวคำสั่งในหนังสือเรียน รวมถึงคาดการณ์คำถามของครู แนวคิดของนักเรียน และสื่อเสริมที่ใช้ในแต่ละแนวคิดของนักเรียน 3) การประเมินเพื่อเชื่อมโยงกับความรู้เดิม โดยการเชื่อมโยงแนวคิดของผู้เรียนก่อนหน้านั้น ว่าจะใช้อะไรมาแก้ปัญหาตามแนวคิดของผู้เรียน 4) การกำหนดตำแหน่งที่จะประเมินในแต่ละคาบ เพื่อใช้ในการสังเกตแนวคิดของผู้เรียน ต่อมาในขั้นการสอนด้วยวิธีการแบบเปิดและร่วมกันสังเกตการสอน พบว่านักเรียนเกิดแนวคิดที่หลากหลายและมีทั้งแนวคิดที่คลาดเคลื่อนและแนวคิดที่สมบูรณ์ ในขั้นอภิปรายและเปรียบเทียบร่วมกันทั้งชั้นเรียนครูทำการประเมินแบบทันท่วงทีจากการใช้คำถาม หลังจากนั้นใช้สื่อเสริมเพื่อขยายแนวคิดของนักเรียน พบว่าเกิดคำถามที่คาดการณ์ไว้และไม่ได้คาดการณ์ไว้ รวมถึงสื่อเสริมที่คาดการณ์ไว้ในแต่ละแนวคิดครูมีการนำมาช่วยขยายแนวคิดของนักเรียน ในขั้นการสะท้อนผลบทเรียนร่วมกัน พบว่า เมื่อนักเรียนเกิดแนวคิดที่คลาดเคลื่อนครูจะทำการประเมินแบบทันท่วงทีโดยใช้คำถามและสื่อเสริมที่เตรียมไว้ และมีการใช้คำถามที่นอกเหนือจากการคาดการณ์ซึ่งขึ้นอยู่กับการตอบสนองของนักเรียนในขณะนั้น และจุดประสงค์ของครูในการถามที่สอดคล้องกับตำแหน่งที่จะประเมิน เพื่อให้นักเรียนปรับเปลี่ยนแนวคิดให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ในแต่ละคาบ 
ผู้เขียน
645050050-9 น.ส. ภัสร์ชวัลณ์ อภิรมย์ชวาล [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0