2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความ การวิเคราะห์การมีส่วนร่วมของนักเรียนในห้องเรียนออนไลน์ โดยใช้ Convolutional Neural Networks (CNN) 
วัน/เดือน/ปี ที่ได้ตอบรับ 26 ธันวาคม 2566 
วารสาร
     ชื่อวารสาร วารสารงานวิจัยและพัฒนาเชิงประยุกต์ โดยสมาคม ECTI  
     มาตรฐานของวารสาร TCI 
     หน่วยงานเจ้าของวารสาร สมาคมวิชาการไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม และสารสนเทศ (ECTI Association) 
     ISBN/ISSN 2773-918X 
     ปีที่
     ฉบับที่
     เดือน กันยายน - ธันวาคม
     ปี พ.ศ. ที่พิมพ์ 2566 
     หน้า 39-52 
     บทคัดย่อ การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ส่งผลกระทบในภาคการศึกษา เช่น การเรียนจาก ห้องเรียนปกติสู่ห้องเรียนออนไลน์ ทำให้การติดตามการมีส่วนร่วมในห้องเรียนออนไลน์เป็นไปด้วยความ ยากลำบาก นอกจากจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของผู้เรียนแล้ว กรณีที่ร้ายแรงที่สุดที่อาจจะเกิดขึ้นคือการ หลุดจากการศึกษาของผู้เรียน เพื่อให้ผู้สอนได้ทราบถึงการมีส่วนร่วมของผู้เรียนและสามารถปรับเปลี่ยน การการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับสถาพแวดล้อมในการเรียนออนไลน์ บทความนี้จึงได้นำเสนอการพัฒนาแบบจำลองที่ใช้ในการตรวจสอบการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ออนไลน์โดยใช้โครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชัน (Convolutional Neural Networks : CNN) ที่ใช้ใบหน้าของผู้เรียนในการตรวจจับอารมณ์และเชื่อมโยงเป็นระดับการมีส่วนร่วม 3 ระดับ คือ ไม่มีส่วนร่วม มีส่วนร่วมระดับปกติ มีส่วนร่วมระดับสูง ซึ่งได้ทำการปรับแต่งพารามิเตอร์ได้แก่ Learning Rate, Batch Size, Optimizer รวมทั้งการปรับแต่งในชั้นของการทำ Feature extraction และชั้นของ การทำ Fully connected ซึ่งได้นำโครงสร้างแบบจำลองจากเว็บไซต์ Keras (Simple MNIST convnet) เป็นโครงสร้างแบบจำลองตั้งต้น ได้แบ่งการทดลองออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 คือ การปรับแต่ง โครงสร้างชั้นการสกัดคุณลักษณะเด่นของภาพ (Feature extraction) กลุ่มที่ 2 คือ การทดลองแต่ละ พารามิเตอร์ ได้แก่ Learning Rate (LR), Batch Size (BZ), Optimizer (OTM), Fully connected (FC) กลุ่มที่ 3 คือ การทดลองจับคู่ 2 พารามิเตอร์ ซึ่งได้ทดลองกลุ่มที่ 1-3 ตามลำดับ และเป็นการนำแบบ จำลองจากกลุ่มการทดลองก่อนหน้าที่ได้ผลดีที่สุดมาทำการเพิ่มพารามิเตอร์ต่อในกลุ่มการทดลองถัดไป ผลการประเมินประสิทธิภาพแบบจำลองการใช้และการปรับแต่ง Optimizer Ranger ร่วมกับ Fully Connected (FC) จำนวนชั้น 2 ชั้นคือ 50 และ 100 ให้ประสิทธิภาพดีที่สุดคือ 82.30 (Accuracy) และค่าความสูญเสียคือ 0.46 (Loss) ซึ่งมีค่าความแม่นยำเพิ่มขึ้น 16.51 และมีค่าความสูญเสียลดลง 0.31 เมื่อเทียบกับแบบจำลองตั้งต้น 
     คำสำคัญ การตรวจจับการมีส่วนร่วม,การจดจำอารมณ์,การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน  
ผู้เขียน
635040095-2 นาย พงษ์ศธร เชิดสม [ผู้เขียนหลัก]
คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ มีผู้ประเมินอิสระ 
สถานภาพการเผยแพร่ ตีพิมพ์แล้ว 
วารสารมีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
citation ไม่มี 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
แนบไฟล์
Citation 0