2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การศึกษาเจตคติทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนผ่านการประเมินระหว่างเรียนของครูในชั้นเรียนที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด  
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 15 ธันวาคม 2566 
การประชุม
     ชื่อการประชุม งานประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ระดับชาติ ครั้งที่ 7 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 
     สถานที่จัดประชุม ชั้น 4 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา (อาคาร 15) เลขที่ 80 ถ.นครสวรรค์ ต.ตลาด อ.เมือง จ.มหาสารคาม 44000 
     จังหวัด/รัฐ มหาสารคาม 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 6 ธันวาคม 2566 
     ถึง 6 ธันวาคม 2566 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2566 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 71 - 83 
     Editors/edition/publisher บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเจตคติทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ผ่านการวิเคราะห์การประเมินระหว่างเรียนของครูในชั้นเรียนที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด กลุ่มเป้าหมาย คือ ทีมการศึกษาชั้นเรียนจำนวน 6 คน และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 36 คน โดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการศึกษาเจตคติทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน (Isoda & Katagiri, 2012) ผ่านการวิเคราะห์การประเมินระหว่างเรียนของครูตามกรอบการประเมินการเรียนนรู้ในศตวรรษที่ 21 (ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์, 2561) ผลการวิจัย พบว่า ในขั้นที่ 1 การวางแผนบทเรียนร่วมกัน ดำเนินการประเมินในขั้นที่ 1 – 4 คือ การกำหนดกรอบการประเมินในแต่ละคาบด้วยการคาดการณ์แนวคิดของผู้เรียน การสร้างเครื่องมือช่วยในการประเมิน การประเมินเพื่อเชื่อมโยงความรู้เดิม และการกำหนดตำแหน่งที่จะประเมินในแต่ละคาบตามลำดับ ในขั้นที่ 2 การปฏิบัติตามแผนและสังเกตชั้นเรียนร่วมกัน ดำเนินการประเมินในขั้นที่ 5 การเก็บหลักฐานการประเมิน เพื่อศึกษาเจตคติทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนผ่านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการแบบเปิด พบว่า ในทุกขั้นตอนของวิธีการแบบเปิดพบเจตคติทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน และขั้นที่ 3 การสะท้อนผลหลังปฏิบัติการสอนร่วมกัน ดำเนินการประเมินในขั้นที่ 6 การใช้ข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากชั้นเรียนไปใช้ในการสะท้อนผล  
ผู้เขียน
645050161-0 น.ส. กฤติยาภรณ์ ชนะมี [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท ภาคปกติ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0