2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การพัฒนาและศึกษาความเป็นไปได้ของแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในคลินิกเพื่อป้องกันการช่วยหายใจแบบไม่ใส่ท่อล้มเหลวในระยะแรกในผู้ป่วยหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 6 กุมภาพันธ์ 2567 
การประชุม
     ชื่อการประชุม เทคโนโลยีทางสุขภาพและนวัตกรรมทางการพยาบาล: แนวโน้มใหม่ในการดูแลภาวะฉุกเฉินบาดเจ็บและวิกฤต 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม ศูนย์วิจัยระบบป้องกันและดูแลผู้บาดเจ็บและฉุกเฉิน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 
     สถานที่จัดประชุม โรงแรมคริสตัลหาดใหญ่  
     จังหวัด/รัฐ จังหวัดสงขลา 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 13 พฤศจิกายน 2566 
     ถึง 14 พฤศจิกายน 2566 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 2567 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 141-150 
     Editors/edition/publisher  
     บทคัดย่อ บทคัดย่อ วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาและศึกษาความเป็นไปได้ของแนวปฏิบัติทางการพยาบาลบนคลินิก (CNPG) เพื่อป้องกันการช่วยหายใจแบบไม่ใส่ท่อล้มเหลวในระยะแรกในผู้ป่วยหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน วิธีการ: รูปแบบการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ของไอโววา (IOWA model) ในการพัฒนาแนวปฏิบัติฯ ประเมินคุณภาพโดยการตรวจสอบดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา (CVI) และแบบประเมินคุณภาพแนวปฏิบัติสำหรับการวิจัยและการประเมินผล (AGREE II) โดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน นำแนวปฏิบัติฯ ไปทดลองใช้ ประเมินความเป็นไปได้ในผู้ป่วยและพยาบาลวิชาชีพ จากการใช้แนวปฏิบัติจำนวนกลุ่มละ 5 ราย ผลการศึกษา: จากการทบทวนและสังเคราะห์งานวิจัยจำนวน 23 เรื่อง แบ่งเป็น ระดับ 1a 4 เรื่อง, 1c 9 เรื่อง, 2a 2 เรื่อง, 3b 6 เรื่อง, 3c 1 เรื่อง และ 4b 1 เรื่อง (JBI, 2014) สร้างแนวปฏิบัติฯ ซึ่งมี 3 ขั้นตอน ได้แก่ คือ 1) การเตรียมก่อนใส่ NIV มีความตรงเชิงเนื้อหา (CVI=0.94) 2) การดูแลขณะใส่ NIV ระยะเวลา 48 ชั่วโมงแรก มีความตรงเชิงเนื้อหา (CVI = 1.0) และ3) ระยะหย่า NIV มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (CVI = 1.0) แนวปฏิบัติฯ มีคะแนน AGREE II ร้อยละ 82.92-86.66 ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 5 ท่านแนะนำให้ใช้แนวปฏิบัติฯ นี้กับผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลันที่ได้รับการใส่ NIV ผลจากการศึกษาความเป็นไปได้ พบว่า ผู้ป่วยทั้ง 5 ราย เป็นเพศชายร้อยละ 80 อายุเฉลี่ย 81.6 ปี (SD=12.42) จัดอยู่ในกลุ่มผู้ป่วยความเสี่ยงต่ำร้อยละ 80 มีคะแนน NIV failure score เฉลี่ย 6.00 คะแนน (SD= 3.31) มีโรคร่วมมากกว่า 2 โรค ไม่เกิดความล้มเหลวในการช่วยหายใจแบบไม่ใส่ท่อในระยะ 48 ชั่วโมงแรก มีค่าเฉลี่ยของระดับการแลกเปลี่ยนแก๊ส (SpO2/FiO2 ratio) ในชั่วโมงที่ 1 และ 24 = 162.50±21.50 และ 322.35±36.47 ตามลำดับ สรุป: แนวปฏิบัติฯ ที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพที่น่าพึงพอใจ มีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้เพื่อป้องกันการช่วยหายใจแบบไม่ใส่ท่อล้มเหลวในระยะแรกในผู้ป่วยหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน นอกจากนี้ควรศึกษาวิจัยเพิ่มเติมในกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อทดสอบประสิทธิผลของแนวปฏิบัติต่อไป  
ผู้เขียน
645060002-4 น.ส. ฑิฆัมพร ฝ่ายศักดิ์ขวา [ผู้เขียนหลัก]
คณะพยาบาลศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0