2012 ©
             ข้อมูลการเผยแพร่ผลงาน
การเผยแพร่ในรูปของบทความวารสารทางวิชาการ
ชื่อบทความที่เผยแพร่ การให้เหตุผลทางพีชคณิตผ่านการทำให้เป็นกรณีทั่วไป ในชั้นเรียนที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการเปิด 
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ 22 พฤษภาคม 2566 
การประชุม
     ชื่อการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติศึกษาศาสตร์วิจัย มหาวิทยาลัยนเรศวร ครั้งที่ 10 หัวข้อ “การวิจัยสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตและผู้ประกอบการมุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 
     หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 
     สถานที่จัดประชุม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 
     จังหวัด/รัฐ พิษณุโลก 
     ช่วงวันที่จัดประชุม 2 พฤษภาคม 2566 
     ถึง 3 พฤษภาคม 2566 
Proceeding Paper
     Volume (ปีที่) 10 
     Issue (เล่มที่)
     หน้าที่พิมพ์ 788-804 
     Editors/edition/publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 
     บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การให้เหตุผลทางพีชคณิตผ่านการทำให้เป็นกรณีทั่วไปของนักเรียนในชั้นเรียนที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด กลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2 จำนวน 35 คน โรงเรียนชุมชนบ้านแก้งคร้อหนองไผ่ อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์โพรโทคอลและบรรยายเชิงวิเคราะห์ตามกรอบแนวคิดการทำให้เป็นกรณีทั่วไป ผลการวิจัยพบว่า การจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการแบบเปิด ภายใต้การศึกษาชั้นเรียน ส่งเสริมการให้เหตุผลทางพีชคณิตโดยผ่านการทำให้เป็นกรณีทั่วไป นักเรียนสามารถให้เหตุผลทางพีชคณิตโดยผ่านการทำให้เป็นกรณีทั่วไป 2 ขั้นตอน 1) การกระทำให้เป็นกรณีทั่วไป นักเรียนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถานการณ์หรือพจน์โดยเน้นที่รูปแบบหรือการดำเนินการทางคณิตศาสตร์ที่คล้ายกัน และดำเนินการซ้ำ ๆ เพื่อค้นหาความคงที่ สุดท้ายขยายรูปแบบ ความสัมพันธ์ หรือกฎไปสู่โครงสร้างทั่วไป 2) สะท้อนการทำให้เป็นกรณีทั่วไป นักเรียนสามารถในการระบุหรือใช้ลักษณะทั่วไปที่มีอยู่ ซึ่งเป็นข้อความสุดท้ายของการทำให้เป็นกรณีทั่วไป ข้อความของนักเรียนจะอยู่ในรูปของเอกลักษณ์ นิยาม หรือการนำไปใช้ คำสำคัญ: การศึกษาชั้นเรียน วิธีการแบบเปิด การให้เหตุผลทางพีชคณิต การทำให้เป็นกรณีทั่วไป  
ผู้เขียน
635050112-2 น.ส. พิริยาภรณ์ ประดับเพชร [ผู้เขียนหลัก]
คณะศึกษาศาสตร์ ปริญญาโท โครงการพิเศษ

การประเมินบทความ (Peer Review) มีผู้ประเมินอิสระ 
มีการเผยแพร่ในระดับ ชาติ 
รูปแบบ Proceeding Full paper 
รูปแบบการนำเสนอ Oral 
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ เป็น 
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล ไม่ได้รับรางวัล 
แนบไฟล์
Citation 0