ชื่อบทความที่เผยแพร่ |
บุญคูณลาน : การสร้างสรรค์บทเพลงจากประเพณีของชาวอีสาน |
วัน/เดือน/ปี ที่เผยแพร่ |
21 กรกฎาคม 2565 |
การประชุม |
ชื่อการประชุม |
ประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ "ศรีสุริยวิชาการ 2565 : การบูรณาการศาสตร์ศิลป์และงานสร้างสรรค์ในโลกาเทศสภิวัตน์เพื่อความยั่งยืน" ประจำปี 2565 ครั้งที่ 1 |
หน่วยงาน/องค์กรที่จัดประชุม |
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา |
สถานที่จัดประชุม |
ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา |
จังหวัด/รัฐ |
กรุงเทพมหานคร |
ช่วงวันที่จัดประชุม |
21 กรกฎาคม 2565 |
ถึง |
22 กรกฎาคม 2565 |
Proceeding Paper |
Volume (ปีที่) |
2565 |
Issue (เล่มที่) |
1 |
หน้าที่พิมพ์ |
1-13 |
Editors/edition/publisher |
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา |
บทคัดย่อ |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดจากประเพณีบุญคูณลานเพื่อนำไปใช้ในการสร้างสรรค์บทเพลงและเพื่อสร้างสรรค์บทเพลงจากประเพณีบุญคูณลาน จากการศึกษาค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ ผลการวิจัย พบว่า สมัยก่อนคนอีสานมีอาชีพทำนาเป็นหลัก มีสถานที่นวดข้าวเรียกว่า “ ลาน ” นำข้าวที่นวดแล้วมากองให้สูงขึ้นเรียกว่า “คูณลาน ” เป็นสถานที่ทำบุญ ซึ่งกำหนดจัดในเดือนอ้ายหรือเดือนที่ 2 ของปี สถานที่ดังกล่าวเรียกว่า “บุญคูณลาน” คติความเชื่อ คือ การถวายข้าวเป็นทาน พิธีกรรม คือนิมนต์พระมาสวดมนต์เย็นและฉันเช้าเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ข้าวเปลือก และมีการทำพิธีสู่ขวัญข้าว เพลงหรือดนตรีที่เกี่ยวข้องคือการทำพิธีสู่ขวัญข้าวเพื่อสิริมงคล จากพิธีกรรมนี้จึงนำไปสู่แนวคิดเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการในการสร้างสรรค์บทเพลงจากบรรยากาศของความมีสิริมงคลของการสู่ขวัญข้าว นำไปสู่ความสนุกสนานร่าเริงของการเฉลิมฉลองจากฤดูเก็บเกี่ยว บรรเลงทำนองเลียนแบบคำสวดสู่ขวัญ มีการนำทำนองสรภัญญะทำนองเดิม ที่มีผู้แต่งไว้เดิมแล้วมาใช้สำหรับการสู่ขวัญเพื่อสื่อถึงการสู่ขวัญข้าว วงดนตรีที่ใช้ในการบรรเลงคือวงเครื่องสายผสมดนตรีพื้นบ้านอีสาน (แคน) จังหวะที่นำมาใช้เพื่อให้เหมาะสมกับอารมณ์เพลง คือ จังหวะช้า แล้วค่อยๆขยับให้เร็วขึ้นเล็กน้อย และตอนท้ายของเพลงทอดแนวจังหวะให้ช้าลง |
ผู้เขียน |
|
การประเมินบทความ (Peer Review) |
มีผู้ประเมินอิสระ |
มีการเผยแพร่ในระดับ |
ชาติ |
รูปแบบ Proceeding |
Full paper |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ |
เป็น |
ผลงานที่นำเสนอได้รับรางวัล |
ไม่ได้รับรางวัล |
แนบไฟล์ |
|
Citation |
0
|
|